Page 223 - 22221_Fulltext
P. 223
222
4) สำนักงานเกษตรอำเภอพาน ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและสนับสนุนงานวิชาการ
ด้านการเกษตร
5) สหกรณ์ประมงอำเภอพาน ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและสนับสนุนการแปรรูปปลานิล
และการตลาด
6) บ้านหัวฝาย หมู่ 9 ตำบลสันกลาง ทำหน้าที่ (1) ป้องกัน บรรเทา และแก้ปัญหา
ปลานิลน็อคน้ำของเกษตรกรในตำบลสันกลาง (2) สร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนมีส่วนร่วม
ในการช่วยเหลือกันและกัน และ (3) ช่วยลดต้นทุนจากการสูญเสียปลานิลจากการน็อค
7) คำอ๋อฟาร์ม (ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ พันธุ์สุกร และเครื่องเพิ่ม
อากาศในบ่อเลี้ยงปลาในจังหวัดเชียงราย) ทำหน้าที่นำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการและ
ส่งเสริมการตลาดให้แก่เกษตร ช่วยระบายปลานิลที่น็อคน้ำ และเป็นวิทยากรอบรมเกษตรกร
8) ฝ่ายปกครองท้องที่ตำบลสันกลาง ทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานของสถานี
ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง ทำหน้าที่ศูนย์กลางของโครงการ ประสานงาน
คณะทำงานและเครือข่าย สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนานวัตกรรม ส่งเสริมการลดต้นทุน
การผลิต และสนับสนุนบุคลากรและอาสาสมัครช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อเกิดกรณีปลาน็อคน้ำ
โครงการนี้เริ่มต้นด้วยการรวบรวมความต้องการและปัญหาจากเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล
ในพื้นที่โดยการประชาคมและการสำรวจ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อกำหนดกิจกรรม
และเป้าหมายของโครงการ
กิจกรรมสำคัญของโครงการ ได้แก่ 1) การอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในการเลี้ยง
ปลานิลเพื่อป้องกันปัญหาปลาน็อคน้ำและลดต้นทุนการเลี้ยง ด้วยความรู้ตามหลักวิชาการ
สมัยใหม่ ผ่านโครงการ Smart Farmer 2) การรับอาสาสมัครพิทักษ์ปลา 3) การตรวจวัด
และดูแลคุณภาพน้ำสำหรับเลี้ยงปลา รวมถึงการแจ้งพยากรณ์อากาศ 4) การช่วยเหลือ
ปลานิลน็อคน้ำด้วยอุปกรณ์เพิ่มอากาศในน้ำ โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง
ได้ประดิษฐ์เครื่องเติมอากาศสำหรับบ่อปลา 50 ชุด พร้อมทั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์
ต่อพ่วงกระจายให้บริการประชาชนตามพื้นที่เลี้ยงปลา 5 จุด ขณะที่มหาวิทยาลัยราชมงคล
ล้านนา เชียงราย นำเทคโนโลยีไมโคร/นาโนบับเบิลมาช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
5) การแปรรูปปลานิลที่ตายจากการน็อคน้ำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ข้าวเกรียบ น้ำพริก
ปลานิลแดดเดียว ปลาส้ม ฯลฯ
รางวัลพระปกเกล้า’ 64