Page 224 - 22221_Fulltext
P. 224
22
ผลการดำเนินโครงการนี้คือ สามารถลดอัตราการสูญเสียปลานิลจากอาการน็อคน้ำ
ได้มากขึ้น ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยจากข้อมูลที่เก็บจากเกษตรกร
ประหว่างปี พ.ศ. 2561-2562 พบว่ามีมูลค่าความเสียหายลดลง และค่าเฉลี่ยอัตราปลา
ที่รอดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 89.58 ในปี พ.ศ. 2561 เป็นร้อยละ 94.77 ในปี พ.ศ. 2562
ในปี พ.ศ. 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลางได้นำโครงการนี้เข้าไปเป็น
เป้าหมายหลักของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล
1 มหาวิทยาลัย) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา เชียงราย เพื่อขยายผลและขับเคลื่อน
องค์ความรู้เพื่อไปจัดทำเป็น big data ระดับชุมชน จัดทำข้อมูลราชการอิเล็กทรอนิกส์
ส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในการพัฒนาและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ปลานิลแปรรูป และสร้างผู้ประกอบการต้นแบบที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้
โครงการสถานีเกษตร วิถีพอเพียง
โครงการสถานีเกษตร วิถีพอเพียง มีที่มาจากปัญหาจากการที่เกษตรกรใช้สารเคมี ปุ๋ย
และยาฆ่าแมลงในการเพาะปลูกเป็นจำนวนมากจนสร้างผลกระทบต่อสภาพดิน สุขภาพของ
เกษตรกร และสิ่งแวดล้อม ผนวกกับหน้าที่ของทางองค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง
ในการช่วยจัดหาสารเคมีให้แก่เกษตรกรเพื่อป้องกันความเสียหายต่อผลผลิต หรือจ่าย
ค่าชดเชยตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน
ที่มีอยู่เดิมแล้ว
แนวคิดพื้นฐานของโครงการนี้คือการใช้วิธีธรรมชาติมาควบคุมและกำจัดศัตรูพืช
เพื่อลดการใช้สารเคมี โดยวิธีสำคัญที่องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลางเลือกนำมาใช้คือ
การใช้เชื้อรากำจัดศัตรูพืชที่มีองค์ความรู้อยู่แล้วเมื่อครั้งดำเนินการศูนย์บริหารศัตรูพืช
องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลางได้นำความรู้การใช้เชื้อรากำจัดศัตรูพืชมาขยายผล
พร้อมกับจัดหาอุปกรณ์ผลิตหัวเชื้อเพิ่มเติมเพื่อขยายเชื้อให้เหมาะสมกับจำนวนเกษตรกร
และจัดอบรมเกษรตกรในการใช้เชื้อราดังกล่าว
เชื้อราที่นำมาใช้มีสองชนิดด้วยกัน ชนิดแรกคือ “ไตรโคเดอร์มา” เป็นเชื้อรากำจัด
เชื้อราโรคพืชและกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อพร้อมกับทำให้รากเจริญเติบโต และ
ชนิดที่สองคือ “บิวเวอร์เรีย” เป็นเชื้อราจุลินทรีย์สำหรับกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ย
หนอนผีเสื้อ ด้วง มด ฯลฯ เชื้อราทั้งสองชนิดไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายเกษตรกร
รางวัลพระปกเกล้า’ 64