Page 226 - 22221_Fulltext
P. 226
22
3) ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและสนับสนุนบุคลากรในการตรวจ
วินิจฉัยโรคพืช
4) สำนักงานเกษตรอำเภอพาน ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและสนับสนุนนักวิชาการด้าน
การเกษตร
5) สถานศึกษาในตำบลสันกลาง ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของสถานีเกษตร
วิถีพอเพียง นำหลักวิชาการไปปรับใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ และประชาสัมพันธ์
การดำเนินโครงการ
6) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอพาน และโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ทำหน้าที่
สนับสนุนสถานีเกษตร วิถีพอเพียง และประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ
นอกจากนี้ ยังมีองค์กรเครือข่ายด้านการประมงและปศุสัตว์ อย่างประมงอำเภอพาน
และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพาน ที่มาทำหน้าที่วินิฉัยโรคสัตว์ให้แก่เกษตรกรด้านประมงและ
ปศุสัตว์ด้วย
การดำเนินโครงการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่หนึ่ง เป็นการจัดอบรมและ
ส่งเสริมเกษตรกรด้านการทำปุ๋ยหมัก การลดตุ้นทุนการผลิต และการลดการใช้สารเคมี
ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตรวจเลือดและตรวจสอบสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร
และลงพื้นที่เก็บข้อมูล ปัญหา ความต้องการของเกษตรกร พร้อมกับรวบรวมความรู้จาก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาสรุปหาแนวทางการดำเนินงาน ระยะที่สอง จัดอบรมการขยายเชื้อรา
สำหรับกำจัดศัตรูพืชที่สองชนิดและแจกจ่ายเชื้อราให้เกษตรกรไปทดลองใช้ จัดตั้งอาสาสมัคร
ศัตรูพืชเพื่อเฝ้าระวังโรคระบาดในพืช และจัดตั้งสถานีย่อยในหมู่บ้าน 8 แห่งเพื่อกระจาย
เชื้อราให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ และระยะที่สาม เป็นระยะสรุปผลการดำเนินโครงการ
โดยการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานช่วยเหลือของโครงการ เปรียบเทียบกับข้อมูลการซื้อ
สารเคมีของเกษตรกร แล้วสรุปผลต่อคณะทำงานโครงการ
การดำเนินโครงการสถานีเกษตร วิถีพอเพียง นี้ สามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมี
ของเกษตรกรลง เนื่องจากการใช้เชื้อรากำจัดศัตรูพืชของโครงการได้ผลเป็นอย่างดี เกษตรกร
ต่างตอบรับและเข้าร่วมกับโครงการเพื่อนำความรู้ด้านการเพาะเชื้อราไปใช้จริง ส่งผลให้
องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลางสามารถประหยัดงบประมาณในจัดหาสารเคมีให้แก่
เกษตรกรเพื่อป้องกันความเสียหายต่อผลผลิตลงได้
รางวัลพระปกเกล้า’ 64