Page 228 - 22221_Fulltext
P. 228
22
ที่ยั่งยืน สำหรับแนวทางการบริหารที่สร้างความสำเร็จให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล
นาคูณใหญ่ นั่นก็คือ ความสามารถและความร่วมมือของกลุ่มองค์กรและเครือข่ายต่างๆ
ในพื้นที่ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลนาคูณใหญ่ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการเสริมสร้าง
เครือข่ายความร่วมมือต่อการดำเนินงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นบนพื้นฐานของการบริหาร
จัดการเครือข่ายความร่วมมือ (Collaborative Governance) ซึ่งอาศัยวิธีการทำงานร่วมกัน
ระหว่างเครือข่ายต่างๆ มีการแบ่งงานแบ่งหน้ากันทำตามความถนัด แลกเปลี่ยนทรัพยากร
ซึ่งกันและกัน ตลอดจนเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับ
องค์การบริหารส่วนตำบลนาคูณใหญ่ โดยมีรายละเอียดการบริหารงาน ดังนี้
(1) การริเริ่มความร่วมมือ องค์การบริหารส่วนตำบลนาคูณใหญ่เป็นองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นที่มีรายได้น้อยและมีทรัพยากรไม่เพียงพอ จึงเกิดแนวคิดริเริ่มสร้างความร่วมมือ
กับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนในท้องถิ่น
(2) การจัดตั้งเครือข่าย การเริ่มจัดตั้งเครือข่ายในพื้นที่ได้เริ่มตั้งแต่เครือข่ายระดับ
หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และเครือข่ายภายในประเทศ โดยจัดตั้งในรูปแบบ
คณะกรรมการและรูปแบบภาคีเครือข่ายการทำงาน เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกัน
ระดมกำลังคน ทรัพยากรและความรู้ในการดำเนินโครงการต่างๆ ขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลนาคูณใหญ่
(3) การตัดสินใจร่วมกัน การดำเนินงานโครงการต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล
นาคูณใหญ่จะอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการกำหนดแนวทางและ
การตัดสินใจร่วมกัน ผ่านคณะกรรมการ ภาคีเครือข่าย และผู้บริหารองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
(4) การวางเป้าหมายการทำงานร่วมกัน องค์การบริหารส่วนตำบลนาคูณใหญ่และ
เครือข่ายกลุ่มต่างๆ มีการวางเป้าหมายการทำงานร่วมกันเพื่อไปสู่ผลสำเร็จตามที่ตั้งไว้
(5) การประสานความร่วมมือระดับบุคลและระดับองค์กร องค์การบริหารส่วนตำบล
นาคูณใหญ่มุ่งเน้นสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นทั้งในระดับผู้ปฏิบัติงาน ผู้นำชุมชน และภาคี
เครือข่ายกลุ่มต่างๆ ให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ประสานเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกันได้
มีความสามารถในการเจรจาต่อรองและสื่อสารที่เข้าใจได้ง่าย ตลอดจนการนำเทคโนโลยีและ
การสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เข้ามาช่วยในการประสานความร่วมมือระหว่างกัน
รางวัลพระปกเกล้า’ 64