Page 222 - 22221_Fulltext
P. 222
221
อาการ “ปลาน็อคน้ำ” หรือ “ปลาช็อคน้ำ” เป็นอาการช็อคของปลาที่เกิดจาก
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อุณหภูมิ และค่าความเป็นกรด-ด่าง (ค่า pH) ของน้ำอย่าง
กระทันหัน ทำให้ปลาตายครั้งละจำนวนมาก ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสูญเสียรายได้และ
ขาดทุน ซึ่งส่วนราชการไทยไม่สามารถใช้ระเบียบราชการปกติช่วยเหลือในกรณีนี้ได้
เนื่องจากไม่ถือว่าเป็นสาธารณภัยหรือภัยพิบัติ องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลางจึงต้อง
แก้ปัญหาผ่านโครงการนี้ ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลสันกลางยืนยันว่ายังไม่มีหน่วยงานใด
ดำเนินการในลักษณะนี้มาก่อน
ในการดำเนินโครงการสถานีกู้ชีพปลา องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลางได้นำเอา
แนวคิด 5S มาเป็นฐานในการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย 1) Social Mind (จิตอาสา)
2) Save Fish (ช่วยปลารอด) 3) Smiley Farmer (เกษตรกรยิ้มได้) 4) Save Environment
(ใส่ใจสิ่งแวดล้อม) และ 5) Sufficiency Economy (น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง)
เบื้องต้น องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลางได้รวบรวมความรู้จากเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา
ที่สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองมาเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการ และได้เชิญองค์กร
ต่างๆ ที่มีความรู้ความสามารถด้านการแก้ปัญหาปลาน็อคน้ำมาเป็นเครือข่ายของโครงการ
โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
องค์กรเครือข่ายของโครงการนี้มีดังต่อไปนี้
1) มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา เชียงราย ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาความรู้และ
สิ่งประดิษฐ์ อาทิ เครื่องเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เพื่อสนับสนุนและแก้ปัญหาปลาน็อคน้ำให้แก่
เกษตรกร
2) สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย ทำหน้าที่ (1) พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต
เพิ่มมูลค่าของสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ และความสามารถในการประกอบอาชีพของเกษตรกร
ผู้เลี้ยงปลา (2) พัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบคุณภาพและตรวจสอบ
ย้อนกลับ (3) พัฒนาการวิจัยเพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมถ่ายทอดสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา
และ (4) พัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมสถานีกู้ชีพปลาให้สนองตอบและแก้ปัญหา
การเลี้ยงปลาของเกษตรกรในตำบลสันกลาง
3) ประมงอำเภอพาน ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและสนับสนุนเจ้าหน้าที่ด้านวิชาการ
ที่เกี่ยวกับตรวจวินิจฉัยโรคปลา และสนับสนุนวิทยากรในการอบรมเกษตรกร
รางวัลพระปกเกล้า’ 64