Page 218 - 22221_Fulltext
P. 218
21
ความปรารถนาดังกล่าว ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึงริเริ่มโครงการป้องกัน
ไฟป่าและปัญหาหมอกควัน ณ ดอยจระเข้ นี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2563 โดยองค์การบริหาร
ส่วนตำบลป่าตึงทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ และประสานหน่วยงาน
อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมดำเนินโครงการในฐานะเครือข่าย ประกอบด้วย อำเภอแม่จัน
สถานีตำรวจภูธรแม่จัน ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 31 สำนักบริหารพื้นที่
อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย) สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (เชียงราย) ผู้อำนวยการ
โรงพยาบาลแม่จัน สำนักงานท้องถิ่นอำเภอแม่จัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแม่จัน
ผู้นำท้องที่ในตำบลป่าตึง และอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน โดยเครือข่ายดังกล่าว
ทำหน้าที่วางแผนการทำงาน และเป็นกำลังสำคัญในการควบคุมไฟป่า
กระบวนการทำงานของโครงการนี้ประกอบด้วย การทำให้ประชาชนตระหนักถึง
ผลกระทบของไฟป่าและหมอกควัน และการตั้งศูนย์เฝ้าระวังไฟป่า โดยการจัดเวรยาม
การทำแนวป้องกันไฟโดยอาสาสมัคร ผู้นำชุมชน และประชาชนแต่ละพื้นที่ และการตั้งซุ้ม
อุปกรณ์ควบคุมไฟ
ภาพบรรยากาศการระดมบุคลากรในการจัดการไฟป่า
โครงการนี้ดำเนินการต่อเนื่องถึงปี พ.ศ. 2564 ผลลัพธ์ที่ได้คือ อัตราการเกิดวิกฤติ
ไฟป่าลดลง สามารถควบคุมและจำกัดพื้นที่เกิดไฟป่าบนดอยจระเข้ได้ จนทำให้ตำบลป่าตึง
กลายเป็นพื้นที่ที่เกิดไฟป่าน้อยที่สุดในจังหวัดเชียงราย
รางวัลพระปกเกล้า’ 64