Page 215 - 22221_Fulltext
P. 215

21



               โครงการรอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
               โดยการสร้างฝายมีชีวิต


                     โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยการสร้างฝายมีชีวิต
               มีที่มาจากปัญหาภัยแล้งช่วงฤดูร้อนและน้ำป่าไหลหลากช่วงฤดูฝน ที่เป็นผลมาจากการทำลาย

               สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่องโดยปราศจากการอนุรักษ์ฟื้นฟูและ
               ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำภายในป่า ทำให้ต้นไม้ในป่าล้มตาย และประชาชนตำบลป่าตึงขาดแคลน
               น้ำในการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง สวนทางกับความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นจาก
               การขยายตัวของประชาชนในพื้นที่


                     เพื่อแก้ปัญหานี้ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึงจึงริเริ่มโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟู
               สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยการสร้างฝายมีชีวิต ขึ้นมา โดยจุดประสงค์ของ
               โครงการนี้ คือการฟื้นฟูระบบนิเวศให้มั่นคงยั่งยืนและมีดุลยภาพ โดยการผสมผสาน
               เทคนิควิทยาพื้นบ้าน จารีตประเพณี ศักยภาพ องค์ความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างฝาย
               และการสร้างจิตสำนึก หวงแหน และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน

               ท้องถิ่นของตำบลป่าตึง และมีเป้าหมายสำคัญคือ การสร้างป่าขนาดใหญ่บริเวณเทือกเขา
               ชายแดนไทย-พม่าในพื้นที่ตำบลป่าตึง

                     การดำเนินโครงการดังกล่าวเริ่มขึ้นจากการประชาคมของประชาชนตำบลป่าตึง

               เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่จะได้รับจากการสร้างฝายมีชีวิต รวมถึงเสนอแนวคิด
               การร่วมดำเนินโครงการกับองค์การอื่นๆ ซึ่งมติของประชาคมที่ได้คือ ให้หน่วยงานราชการ
               ทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้และสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานบางส่วน ส่วนชุมชน
               จะเป็นผู้สนับสนุนวัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ดิน หิน ฯลฯ และแรงงานในการสร้างฝาย


                     หลังจากได้รับมติจากประชาคมแล้ว องค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึงได้เชิญองค์กร
               ต่างๆ ที่มีความรู้ในการสร้างฝายมีชีวิตให้มาร่วมดำเนินงานในฐานะเครือข่าย โดยได้ขอ
               ความอนุเคราะห์บุคลากรจากสถาบันอาเซียนศึกษา สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
               ราชภัฏเชียงราย และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย มาถ่ายทอดความรู้ในการสร้าง

               ฝายมีชีวิตให้แก่ผู้นำชุมชนและประชาชน รวมถึงสำรวจและประเมินสภาพพื้นที่ในการสร้างฝาย
               และวิเคราะห์ผลจากการสร้างฝายด้วย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึงเป็นฝ่ายสนับสนุน
               วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างฝาย








             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220