Page 5 - 22688_Fulltext
P. 5

(3)






                                                     บทสรุปส าหรับผู้บริหาร



                                  “เกาะสมุย (Koh Samui)” จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการขยายตัวทาง

                       เศรษฐกิจระดับสูงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีรายได้หลักมาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่อ าเภอ

                       เกาะสมุยที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีความงดงาม และล้ าค่า จน

                       เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลของภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและเป็นจุดหมายปลายทางทางการ

                       ท่องเที่ยวทางทะเลของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจ านวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                       ก่อนวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ที่เฉพาะใน

                       พ.ศ. 2561 เพียงปีเดียวเกาะสมุยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวมากถึง 2,237,202  คน ส่งผลให้


                       อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเกาะสมุยสามารถสร้างรายได้ปีละไม่ต่ ากว่า 12,000  – 18,000 ล้านบาท
                       และสร้างรายได้ให้ชาวเกาะสมุยเฉลี่ยต่อครัวเรือนได้มากกว่า 50,000 บาท/เดือน นับเป็นรายได้เฉลี่ย


                       ต่อครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้เฉลี่ยของคนไทยทั่วประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อ

                       ครัวเรือน 26,946 บาท/เดือน และมากกว่ากรุงเทพมหานครที่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพียง

                       45,707 บาท/เดือน

                                  ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรอบด้านจากการเจริญเติบโตทาง

                       เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้

                       พื้นที่อ าเภอเกาะสมุยกลายเป็นท าเลทองของการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว

                       อาทิ โรงแรม รีสอร์ท บังกะโล สถานบันเทิง ร้านค้า ธุรกิจน าเที่ยว ฯลฯ เหล่านี้กลับก่อให้เกิดปัญหา

                       ต่าง ๆ อย่างรอบด้านที่ส่งผลกระทบต่อด าเนินวิถีชีวิตของชาวเกาะสมุย อาทิ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

                       ปัญหาด้านสวัสดิการสังคมและคุณภาพชีวิต ปัญหาด้านสาธารณูปโภค ฯลฯ โดยที่เทศบาลนคร

                       เกาะสมุยในฐานะหน่วยงานการปกครองท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนและมีขอบเขตพื้นที่

                       ครอบคลุมพื้นที่ทั้งอ าเภอเกาะสมุยกลับขาดอ านาจหน้าที่และระบบการบริหารจัดการท้องถิ่นที่

                       เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่อ าเภอเกาะสมุยที่มีความแตกต่างไป

                       จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเดียวกันแห่งอื่น ๆ ที่มีการจัดตั้งขึ้นในระดับท้องถิ่น

                       ทั่วประเทศ อันส่งผลให้การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ ในพื้นที่

                       เทศบาลนครเกาะสมุยกลับไม่สามารถด าเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลได้อย่าง


                       เท่าทันต่อสภาพปัญหา ความต้องการ และความคาดของประชาชนภายในพื้นที่เกาะสมุย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10