Page 30 - kpi21662
P. 30
หลักการข้อที่ 2 การเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมต้องให้ความสำคัญกับการพิจารณา
และบันทึกอย่างละเอียด เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
ผลเชิงบวกหรือเชิงลบ และผลที่เกิดแบบตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เพื่ออธิบายว่า
โครงการได้ส่งผลการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
หลักการข้อที่ 3 การคัดสรรเฉพาะสาระสำคัญ และเชื่อมโยง
กับกิจกรรมหลัก
คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น
การระบุปัจจัยสำคัญและการเลือกเฉพาะผลลัพธ์สำคัญที่จะทำ
การประเมิน จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูล และมีความ
น่าเชื่อถือมากขึ้น ซึ่งอาจทำได้โดยการอ้างอิงจากเป้าหมายของโครงการ
(กระบวนการภายใน) และการรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(กระบวนการภายนอก)
ในการเลือกผลลัพธ์ที่สำคัญอาจเลือกไม่เกิน 3 ผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุด
หรือประเมินเฉพาะผลลัพธ์ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกินครึ่งยืนยันว่า
เป็นประโยชน์ที่พวกเขาได้รับจากโครงการ โดยเน้นเฉพาะประโยชน์ทาง
ตรงที่เกิดจากโครงการที่ชัดเจน เพื่อป้องกันการกล่าวอ้างเกินจริง
หลักการข้อที่ 4 หลีกเลี่ยงการกล่าวอ้างเกินจริง
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้เกิดจากการดำเนินโครงการที่ทำ
การประเมินเพียงโครงการเดียว ดังนั้นจึงต้องมีการระบุด้วยว่าคนหรือ
องค์กรอื่นมีส่วนสร้างผลลัพธ์ด้วยหรือไม่ เพียงใด (Attribution) ทำให้
ไม่เกิดการกล่าวเกินจริงสำหรับผลที่เกิดขึ้นจากโครงการ ทั้งนี้การคำนวณ
สัดส่วนผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิดจากการดำเนินโครงการที่ทำการประเมิน
เป็นเรื่องยาก จึงจำเป็นต้องอ้างอิงแนวโน้มในอดีต งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
20 สถาบันพระปกเกล้า