Page 26 - kpi21662
P. 26
ที่เกี่ยวข้อง การประเมินจึงมีขั้นตอนการประเมินที่ซับซ้อน ต้องใช้เวลา
เงินทุน และเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตั้งแต่แรกเริ่มการประเมิน
ลักษณะโครงการที่ไม่เหมาะสมกับการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ได้แก่
โครงการมีลักษณะเป็นกิจกรรมชั่วคราว หรือทำงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ในเวลาสั้น ๆ โครงการถูกกำหนดตายตัวไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ไม่ว่า
ผลการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมจะออกมาเป็นอย่างไร และโครงการที่
ผู้ประเมินไม่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์หรือปรับเปลี่ยนแผนดำเนินการ
ประเภทของเครื่องมือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม
คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น
สฤณี อาชวานันทกุล และภัทราพร แย้มลออ (2560) ได้ประมวล
เครื่องมือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่นักประเมินมักนิยมใช้ไว้
6 ประเภท ดังนี้
1. ห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain) ใช้เป็นเครื่องมือในการ
แจกแจงส่วนต่าง ๆ ของ “ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง” โดยจะมีการระบุถึง
ปัจจัยนำเข้า (Input) กิจกรรม (Activity) ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์
(Outcome) ในบางกรณีอาจระบุผลกระทบระยะยาว (Long-term
impact) ด้วย
2. การประเมินประโยชน์เทียบกับต้นทุน (Cost–Benefit Analysis:
CBA) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
ผ่านการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ
เครื่องมือนี้เน้นแสดงต้นทุนและผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิดจากการลงทุนในรูป
“ตัวเงิน” ผลการประเมินอาจอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น มูลค่าปัจจุบันสุทธิ
(Net Present Value: NPV) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefit-
Cost Ratio) และอัตราผลตอบแทนภายใน (Internet Rate of Return:
IRR)
1 สถาบันพระปกเกล้า