Page 31 - kpi21662
P. 31

และตัวชี้วัดมาตรฐาน (Benchmark) เพื่อประเมินสัดส่วนการเปลี่ยนแปลง
                 จากโครงการที่ทำการประเมิน


                 หลักการข้อที่ 5 เน้นความโปร่งใสทุกขั้นตอน

                      เพื่อให้เกิดความโปร่งใส การประเมินทุกขั้นตอนควรจัดทำเอกสาร
                 ประกอบการตัดสินใจทุกครั้ง ในเอกสารควรมีการระบุประเด็นสำคัญ ๆ
                 เช่น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจาก

                 การดำเนินโครงการ ตัวชี้วัดและมาตรฐานที่ใช้ แหล่งที่มาของข้อมูล
                 วิธีจัดเก็บข้อมูล และวิธีพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ ในการประเมิน
                 เมื่อการประเมินเสร็จสิ้นแล้ว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควรจะได้รับทราบผล
                 การประเมินและแสดงความคิดเห็น ตลอดจนอธิบายว่าองค์กรปกครอง

                 ส่วนท้องถิ่นจะนำผลการประเมินไปปรับปรุงการดำเนินงานในอนาคต
                 อย่างไร ซึ่งจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร
                 ปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้นในอนาคต                                     คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น


                 หลักการข้อที่ 6 พร้อมรับการตรวจสอบ

                      การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมอาจมีทัศนคติส่วนตัวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
                 อยู่บ้าง ทำให้ผลการประเมินอาจมีมูลค่าสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป หรือ
                 การเก็บข้อมูลที่นำมาใช้ในการประเมิน อาจมีประเด็นเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ

                 ของข้อมูล ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรให้ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลภายนอกเป็น
                 ผู้แสดงความเห็น ซึ่งจะช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถตัดสินใจว่า
                 การประเมินได้ทำอย่างตรงไปตรงมาและสมเหตุสมผลหรือไม่ รวมทั้ง

                 ควรให้ทุกฝ่ายได้มีโอกาสให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อเป็น
                 ประโยชน์ต่อการประเมินต่อไป









                                                             สถาบันพระปกเกล้า   21
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36