Page 25 - kpi21662
P. 25

การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคม           3

                      การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment:
                 SIA) เป็นการประเมินความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
                 เช่น การดำเนินโครงการสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หรือไม่
                 ผลกระทบภายนอกที่เกิดขึ้นเป็นผลกระทบเชิงบวกหรือเชิงลบ รวมทั้ง

                 การหาวิธีการเพื่อเพิ่มหรือลดผลกระทบที่เกิดขึ้น เป้าหมายของโครงการ
                 ทางสังคมมักจะมีลักษณะเป็นนามธรรม เช่น โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต
                 ผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและดูแล
                 ตนเองในเบื้องต้นได้ แต่ไม่ได้ระบุเป้าหมายรูปธรรมที่ชัดเจนที่จะสามารถ

                 ประเมินความก้าวหน้าได้ ซึ่งอาจจะเป็นจำนวนผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลง
                 ทางด้านสุขภาพที่ดีขึ้น หลังจากได้เข้าร่วมโครงการ ดังนั้น ผลลัพธ์ทาง
                 สังคม (Social Impact) จึงสะท้อนถึงคุณค่าที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
                 ซึ่งต้องสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของ

                 โครงการที่กำหนดไว้                                                   คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น

                      การประเมินต้องมีการทบทวนเป้าหมายของโครงการและผู้มีส่วนได้
                 ส่วนเสีย ดังนั้นการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้
                 ผู้ดำเนินโครงการทราบว่า เมื่อดำเนินโครงการนั้นแล้ว ทำให้เกิด

                 การเปลี่ยนแปลงอย่างไรในสังคม และทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นผลของ
                 กิจกรรมในโครงการมากน้อยเพียงใด  รวมทั้งผลการประเมินจะช่วย
                 ในการวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้

                      การประเมินผลโครงการควรมีการพิจารณาก่อนว่า โครงการ
                 ดังกล่าวมีความเหมาะสมกับการประเมินผลลัพธ์และผลตอบแทนทาง

                 สังคมหรือไม่ เนื่องจากเป็นการประเมินแบบ “ล่างขึ้นบน” (Bottom-up)
                 ต้องมีการเก็บข้อมูลฐานและข้อมูลปฐมภูมิจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


                    3   ประยุกต์จาก สฤณี อาชวานันทกุล และภัทราพร แย้มละออ. (2560).



                                                             สถาบันพระปกเกล้า   1
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30