Page 20 - kpi21662
P. 20
3. การกำหนดประเด็นของการประเมิน
ผู้ประเมินต้องกำหนดประเด็นการประเมินอย่างเหมาะสม ซึ่งได้จาก
การวิเคราะห์โครงการที่จะประเมิน และการศึกษารูปแบบของการประเมิน
ใน 2 ขั้นตอนแรก เพื่อนำไปสู่การกำหนดรายละเอียดในขั้นตอนต่อไป
อย่างสมบูรณ์ตามประเด็นที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องคำนึงถึงความต้องการ
ของผู้ใช้ผลประเมิน ซึ่งอาจจะเป็นผู้บริหาร ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ผู้ดำเนิน
โครงการ ฯลฯ เพื่อให้ผลจากการประเมินเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น
4. การพัฒนาตัวชี้วัดและการกำหนดเกณฑ์
คุณภาพของตัวชี้วัด (Indicator) และเกณฑ์ (Criteria) เป็นปัจจัย
สำคัญที่จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการประเมิน ขั้นตอนนี้จึงเป็น
การพัฒนาตัวชี้วัดและการกำหนดเกณฑ์ที่เหมาะสม ตัวชี้วัดแต่ละตัว
จะได้มาจากประเด็นของการประเมินที่ผู้ประเมินได้กำหนดไว้ในขั้นตอน
ที่ 3 ตัวชี้วัดที่ผู้ประเมินกำหนดขึ้นต้องสามารถสะท้อนถึงแต่ละประเด็น
ให้ชัดเจนที่สุด ซึ่งสามารถสังเกตหรือวัดได้ เพื่อเป็นเกณฑ์ตัดสินได้ว่า
ผลการดำเนินโครงการ เมื่อพิจารณาจากตัวชี้วัดแต่ละตัวนั้นประสบ
ความสำเร็จเป็นไปตามเกณฑ์มากน้อยเพียงใด
5. การออกแบบประเมิน
การออกแบบประเมิน คือแนวทางการประเมินที่ผู้ประเมินได้เตรียม
การออกแบบไว้สำหรับแต่ละโครงการ เป็นการประมวลความคิดทั้งหมด
ออกมาเป็นรูปแบบการประเมินที่เลือกใช้ให้เหมาะสมกับโครงการที่จะ
ประเมิน โดยมีองค์ประกอบคือ การกำหนดวิธีการประเมิน การสุ่ม
ตัวอย่าง กำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์ที่จะใช้ แหล่งข้อมูลที่ต้องการ เครื่องมือ
ที่ใช้ และการวิเคราะห์ข้อมูล
10 สถาบันพระปกเกล้า