Page 17 - kpi21662
P. 17

ความสำคัญของการประเมินโครงการ

                      หากการดำเนินโครงการปราศจากการประเมิน ผู้ดำเนินโครงการ
                 จะไม่ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ความเป็นไปได้ ความพร้อม
                 ความเหมาะสม ความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการ และเมื่อสิ้นสุด
                 การดำเนินโครงการ ก็จะไม่ทราบว่าผลการดำเนินโครงการเป็นอย่างไรบ้าง

                 การดำเนินโครงการประสบความสำเร็จหรือไม่ ควรยกเลิก ปรับเปลี่ยน
                 ขยาย/ลดโครงการหรือไม่ อย่างไร ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินจะมี
                 ความสำคัญที่มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจ
                 ในการตัดสินใจในโครงการนั้น ๆ


                      ผู้ประเมินโครงการสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ

                      1. ผู้ประเมินภายใน (Internal Evaluator) คือ ผู้ประเมินที่เป็น
                 บุคคลที่รับผิดชอบต่อโครงการนั้นโดยตรง

                      2. ผู้ประเมินภายนอก (External Evaluator) คือ ผู้ประเมินที่เป็น  คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น
                 บุคคลภายนอกที่ไม่ได้มีส่วนในการดำเนินโครงการนั้นโดยตรง ซึ่งอาจเป็น
                 บุคคลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน แต่ไม่ได้มีส่วนในการดำเนิน

                 โครงการนั้น ๆ หรืออาจะเป็นบุคคลภายนอกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                 ก็ได้ โดยผู้ประเมินจะต้องพยายามสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน
                 ในโครงการให้เกิดความยอมรับว่า การประเมินเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์

                 ไม่ใช่ทำลาย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่จะนำมาใช้
                 ในการประเมิน

                      ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอผลการประเมินในลักษณะ
                 ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ผลการประเมินในแต่ละกลุ่ม ผู้ประเมินที่ดีต้องมี
                 คุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

                      1. เข้าใจในสิ่งที่ต้องการประเมินอย่างชัดเจน เพื่อนำไปสู่การวางแผน

                 และดำเนินการประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ


                                                             สถาบันพระปกเกล้า
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22