Page 522 - kpi21298
P. 522
2.3 วิธีการวิเคราะห์ค่าคะแนนตัวชี้วัดและเกณฑ์ของ Good Governance Mapping
ที่เป็นมาตรฐานในการติดตามความก้าวหน้าขององค์กรที่ได้รับรางวัลในประเทศไทย
การวิเคราะห์ค่าคะแนนเพื่อนำไปสู่การติดตามความก้าวหน้าขององค์กรที่ได้รับรางวัลใน
ประเทศไทยตามตัวชี้วัดและเกณฑ์ของ Good Governance Mapping ประกอบด้วยดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ทำการรวมค่าคะแนนที่ได้รับจากการตอบแบบสอบถามในแต่ละข้อ
เพื่อให้ได้ค่าคะแนนรวม F (รวม) ของแบบสอบถามในแต่ละข้อ
ขั้นตอนที่ 2 ทำการวิเคราะห์ค่าคะแนนเต็มของแบบสอบถามในแต่ละข้อ/ตอน
ซึ่งเป็นการนำค่าคะแนนการเลือกตอบที่มีค่าสูงที่สุดของแบบสอบถามแต่ละข้อ/ตอนมาทำการรวมกัน
เป็นค่าคะแนนเต็ม n (เต็ม) เพื่อเตรียมข้อมูลไปสู่การวิเคราะห์ในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 ผู้วิจัยนำค่าคะแนนโดยรวม และค่าคะแนนเต็มที่ได้รับจากการวิเคราะห์
ข้อมูลในขั้นตอนที่ 1-2 ข้างต้นไปทำการคำนวณหาค่าร้อยละ โดยการทำการแปลงค่าคะแนนดังกล่าว
ที่อยู่ในรูปความถี่ให้เป็นค่าร้อยละด้วยวิธีการเทียบบัญญัติไตรยางค์ ซึ่งมีสูตรการแปลงค่าคะแนนดังนี้
สูตร
P = F (รวม) x 100
n (เต็ม)
เมื่อ
P = ค่าคะแนนที่ได้รับการแปลงให้อยู่ในรูปของร้อยละ
F = ค่าคะแนนรวมที่ได้รับจากการรวมค่าคะแนนที่กลุ่มตัวอย่างได้
(รวม)
เลือกตอบมา
n (เต็ม) = ค่าคะแนนเต็มที่เกิดจากผลรวมของค่าคะแนนสูงสุดที่กลุ่ม
ตัวอย่างสามารถเลือกตอบได้ในแบบสอบถาม
ขั้นตอนที่ 4 ผู้วิจัยทำการกำหนดเกณฑ์การแปลความหมายของค่าร้อยละที่ได้รับ
จากการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
ร้อยละ 0-20 หมายถึง ความก้าวหน้าในการดำเนินงานอยู่ในระดับต่ำที่สุด
ร้อยละ > 20-40 หมายถึง ความก้าวหน้าในการดำเนินงานอยู่ในระดับต่ำ
ร้อยละ > 40-60 หมายถึง ความก้าวหน้าในการดำเนินงานอยู่ในระดับปาน
กลาง
ร้อยละ > 60-80 หมายถึง ความก้าวหน้าในการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง
ร้อยละ > 80-100 หมายถึง ความก้าวหน้าในการดำเนินงานอยู่ในระดับสูงที่สุด
โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2) 486