Page 517 - kpi21298
P. 517
บทที่ 7
การสร้าง Platform ตัวชี้วัดมาตรฐานของ
Good Governance Mapping
(การวิจัยระยะที่ 4)
จากผลการวิจัยระยะที่ 3 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research
Methodology) ที่เน้นการตรวจสอบความมากหรือน้อยของความเหมาะสมของร่างตัวชี้วัด Good
Governance Mapping Platform ในการติดตามผลการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กร
ภาครัฐ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ) และองค์กรไม่แสวงผลกำไรใน
ประเทศไทย คณะผู้วิจัยจึงได้นำไปสู่การสังเคราะห์ตัวขี้วัดมาตรฐาน เพื่อนำไปสู่การสร้างและจัดทำ
Platform ตัวชี้วัดและเกณฑ์ของ Good Governance Mapping ที่เป็นมาตรฐานในการติดตาม
ความก้าวหน้าขององค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ) และองค์กร
ไม่แสวงผลกำไร ตามหลักธรรมาภิบาลในประเทศไทยสำหรับรองรับการสร้างฐานข้อมูลด้าน
ธรรมาภิบาลที่เป็นมาตรฐาน และสามารถเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูล Good Governance
Mapping ของสถาบันพระปกเกล้า ตามลำดับดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบหลักธรรมาภิบาล
2. ผลการสังเคราะห์ตัวชี้วัดและเกณฑ์ของ Good Governance Mapping ที่เป็น
มาตรฐานในการติดตามความก้าวหน้าขององค์กรที่ได้รับรางวัลในประเทศไทย
3. ผลการสร้างและจัดทำ Platform ตัวชี้วัดและเกณฑ์ของ Good Governance
Mapping ที่เป็นมาตรฐานในการติดตามความก้าวหน้าขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย
4. ผลการสร้างและจัดทำ Platform ตัวชี้วัดและเกณฑ์ของ Good Governance
Mapping ที่เป็นมาตรฐานในการติดตามความก้าวหน้าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
5. ผลการสร้างและจัดทำ Platform ตัวชี้วัดและเกณฑ์ของ Good Governance
Mapping ที่เป็นมาตรฐานในการติดตามความก้าวหน้าขององค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ; จดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์) ในประเทศไทย
6. ผลการสร้างและจัดทำ Platform ตัวชี้วัดและเกณฑ์ของ Good Governance
Mapping ที่เป็นมาตรฐานในการติดตามความก้าวหน้าขององค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ; ไม่ได้จด
ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ในประเทศไทย
7. ผลการสร้างและจัดทำ Platform ตัวชี้วัดและเกณฑ์ของ Good Governance
Mapping ที่เป็นมาตรฐานในการติดตามความก้าวหน้าขององค์กรไม่แสวงผลกำไรในประเทศไทย