Page 146 - 21211_fulltext
P. 146
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
ตารางที่ 5.3 คะแนน LPA ขององค์การบริหารส่วนตำบลเปรียบเทียบระหว่างภูมิภาค
ภูมิภาค อบต.
N Mean p10 p25 p50 p75 p90
หน่วยงาน
(max=100)
ตะวันออกเฉียงเหนือ 2,058 77.73 65.29 71.76 78.24 84.71 88.82
เหนือ 1,108 79.33 66.47 74.12 81.18 85.88 89.41
ใต้ 829 76.53 62.42 70 77.65 84.12 88.24
ตะวันออก 368 75.95 64.71 70 77.06 83.53 88.24
ตะวันตก 368 74.75 60.59 68.82 75.88 82.645 87.65
กลาง 389 76.82 63.53 71.18 77.65 82.94 87.65
ปริมณฑล 213 78.63 65.88 73.53 80.59 86.47 90.59
ค่าเฉลี่ย 5,333 77.51 64.71 71.18 78.82 84.71 88.82
ที่มา: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ในรูปภาพที่ 5.2 แสดงการกระจายข้อมูลคะแนน LPA ของ อบต. จำแนกตาม
ภูมิภาคทั้ง 7 ภูมิภาคให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งพบว่า การกระจุกตัวของค่าคะแนนของ
เทศบาลส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 60-70 คะแนน และมีลักษณะการกระจายของข้อมูล
ที่มากกว่าของเทศบาล นอกจากนี้ยังมีเทศบาลบางแห่งที่มีคะแนน LPA ต่ำกว่า 30
คะแนน เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก เป็นต้น
คณะวิจัยได้นำคะแนน LPA มาจำแนกใหม่ โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่มในลักษณะ
ordinal scale คล้ายคลึงกับการให้คะแนนนักเรียน/นักศึกษา กลุ่มที่หนึ่ง เรียกว่า
“โดดเด่น” หมายถึงคะแนน 90 หรือสูงกว่า กลุ่มที่สอง นิยามว่า “ดีมาก” หมายถึง
ช่วงพิสัย 80-89 กลุ่มที่สาม เรียกว่า“ดี” หมายถึงช่วงพิสัย 70-79 กลุ่มที่สี่ นิยามว่า
“พอใช้” หมายถึงช่วงคะแนน 60-69 และ กลุ่มที่ห้า เรียกว่า “ตกเกณฑ์” หมายถึง
ต่ำกว่า 60 คะแนน
ข้อสังเกตคือ ก) คะแนนของเทศบาล และ อบต. ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงพิสัย 70-89
คะแนน หมายถึงกลุ่มที่ 3 และ 4 ถือว่า “ดีมาก” คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72 ของ
สถาบันพระปกเกล้า 11