Page 143 - 21211_fulltext
P. 143
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
บริการสาธารณะ/กิจกรรมล้วนต้องใช้งบประมาณ ข้อสังเกตเบื้องต้นคือ บริการ
สาธารณะบางประเภทที่ค่าใช้จ่ายสูงหรือลงทุนมาก (เช่น การจัดเก็บขยะ บริการดับ
เพลิง โรงเรียน) หน่วยงานท้องถิ่นขนาดเล็กและฐานะการเงินจำกัดอาจจะมิได้ให้บริการ
5.4 การศึกษาเชิงประจักษ์
แหล่งข้อมูล ผู้วิจัยได้ประมวลข้อมูลหลายมิติ นอกเหนือจากคะแนน LPA
ได้รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน (เช่น จำนวนประชากร ขนาดพื้นที่ ความหนาแน่นของ
ประชากร) ข้อมูลการคลังและงบประมาณ และ ข้อมูลบุคลากร มาวิเคราะห์โดยใช้
แบบจำลองเศรษฐมิติ ค่าสถิติที่ใช้หมายถึงปีงบประมาณ 2559
การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (comparative analysis)
การวิเคราะห์กระจายของคะแนน LPA โดยใช้สถิติเปอร์เซนไทล์ (percentile)
ดังแสดงในตารางที่ 5.1 มีข้อสังเกตดังต่อไปนี้ หนึ่ง เทศบาลนครมีคะแนน LPA สูงสุด
โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 81 และมีคุณลักษณะ stochastic dominance หมายถึง
ผลเปรียบเทียบทุกระดับเปอร์เซนไทล์ (p10, p25, p50, p75, p90) สูงกว่า สอง
คะแนน LPA ของเทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และ อบต. ใกล้เคียงกัน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 77
ลำดับต่อมาเราให้ความสำคัญกับมิติพื้นที่ (จำแนกตามภูมิภาค) ตารางที่ 5.2
เปรียบเทียบ คะแนน LPA ของเทศบาลทั้ง 3 ประเภท โดยมีข้อสังเกตว่า คะแนน LPA
ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และปริมณฑลกรุงเทพ สูงกว่าภาคใต้
ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
110 สถาบันพระปกเกล้า