Page 141 - 21211_fulltext
P. 141
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
5.1 คำถามการวิจัยและข้อสันนิษฐาน
เทศบาล และ อบต. เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักคือจัดบริการสาธารณะสนอง
ความต้องการของประชาชนและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
โดยผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ภายใต้การกำกับของหน่วยงานราชการ
27
ส่วนกลาง (วีระศักดิ์ เครือเทพและคณะ, 2560) ในแต่ละปีหน่วยงานท้องถิ่นมีหน้าที่
จัดทำบริการสาธารณะและได้รายงานข้อมูลให้รัฐบาลทราบ (กรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่น ซึ่งที่ทำหน้าที่กำกับดูแลท้องถิ่น) โดยทั่วไปเทศบาลและอบต. รายงานข้อมูล
2 ประเภท คือ รายงานทางการคลัง (รายได้/รายจ่าย) และรายงานทางการเงิน
(ทรัพย์สิน หนี้สินและทุน) การที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นริเริ่มวัดผล
การทำงานเป็นเรื่องใหม่ที่น่าชื่นชม สอดคล้องกับหลักการบริหารภาครัฐแนวใหม่
(NPM, new public management) ซึ่งเน้นการวัดผลผลิต-ผลลัพธ์ของการทำงาน
และการจัดสรรงบประมาณอิงผลลัพธ์
5.2 โครงการการประเมิน LPA
ในปี พ.ศ. 2549 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ริเริ่มจัดทำระบบการติดตาม
ประเมินผล อปท. เพื่อกำหนด “เกณฑ์มาตรฐาน” ของบริการสาธารณะ พร้อมกับ
มอบอำนาจให้คณะประเมินชุดหนึ่งเรียกว่า Core Team ซึ่งกระจายอยู่ในทุกจังหวัด
ทำหน้าที่ตรวจประเมินบริการสาธารณะตามตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนด ในเวลาต่อมา
ปี พ.ศ. 2558 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ปรับปรุงแนวทางการประเมินใหม่
โดยใช้คำศัพท์ว่า การประเมินการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local
Performance Assessment) จำแนกออกเป็น 4 ด้าน
ด้านที่ 1 ด้านการบริหารจัดการ (7 หัวข้อ ประกอบด้วย 34 ข้อคำถาม)
ด้านที่ 2 ด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภา (2 หัวข้อ ประกอบด้วย
36 ข้อคำถาม)
27 หน่วยราชการส่วนกลางที่ทำหน้าที่กำกับ-กำหนดเกณฑ์-และสนับสนุนท้องถิ่น นั้นความจริง
มีหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ มีบทบาทการอนุมัติงบประมาณ
การจัดทำโครงการ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินกำกับดูแล
10 สถาบันพระปกเกล้า