Page 142 - 21211_fulltext
P. 142
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
ด้านที่ 3 ด้านการบริหารงานการเงินและการคลัง (สำหรับ อบจ. 5 ประกอบด้วย
31 ข้อคำถาม สำหรับเทศบาล/อบต. 5 หัวข้อ ประกอบด้วย 41 ข้อคำถาม)
ด้านที่ 4 ด้านการบริการสาธาณะ (17 หัวข้อการประเมิน)
จากเอกสารของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ระบุว่าโครงการ LPA
มีวัตถุประสงค์ดังนี้
ก) สร้างมาตรฐานของบริการสาธารณะท้องถิ่นให้เป็นที่ประจักษ์
ข) ผลักดันให้หน่วยงานท้องถิ่นแข่งขันการทำความดี โดยจัดทำบริการสาธารณะ
ที่มีคุณภาพ อย่างน้อยตามมาตรฐาน โดยประสงค์ให้หน่วยงานท้องถิ่นที่ดีกระจายอย่าง
ทั่วถึงทุกภูมิภาค
ค) การเผยแพร่ข้อมูลสนเทศให้สาธารณชนรับทราบ โดยแสดงเป็นดัชนีคือ
คะแนน LPA (คะแนนเต็ม 100) เพื่อส่งเสริม“บรรยากาศการแข่งขัน”
5.3 ข้อสันนิษฐานการวิจัย
H1: ตามหลักที่ควรจะเป็น เทศบาล และ อบต. ทุกแห่ง ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่
ตามที่ผู้บริหารแถลงนโยบายต่อสภาท้องถิ่น/การหาเสียงกับประชาชน ทั้งนี้ภายใต้
ข้อจำกัดด้านงบประมาณ อำนาจหน้าที่ และสภาพปัญหาของแต่ละท้องถิ่น คณะวิจัย
จึงคาดว่าคะแนน LPA ของทุกแห่งควรจะอยู่ในระดับดีมาก (คะแนน 85 หรือสูงกว่านั้น)
H2: ในสภาพความเป็นจริง เทศบาล และ อบต. แต่ละแห่งทำงานภายใต้
สภาพแวดล้อมที่ต่างกันทั้งมิติเชิงกายภาพ ฐานะการเงิน รายได้ และงบประมาณ
ความสามารถขององค์กร จึงอาจเป็นไปได้ว่า เทศบาล และ อบต. บางแห่ง มีคะแนน
LPA ต่ำกว่าระดับดีมาก
H3: ขนาดประชากร เป็นตัวแปรหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์กับคะแนน LPA
เนื่องจากท้องถิ่นขนาดเล็ก มีรายได้และงบประมาณจำกัด ดังนั้น มีความเสี่ยงที่การจัด
บริการสาธารณะไม่ครบถ้วน หรือการจัดกิจกรรมต่ำกว่าเกณฑ์ นอกจากนี้ ขนาดรายได้
ท้องถิ่นต่อประชากร (per capita local revenue) อาจเป็นข้อจำกัด เนื่องจากการจัด
สถาบันพระปกเกล้า 10