Page 136 - 21211_fulltext
P. 136
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
4.6 สรุปท้ายบท
ในบทนี้เป็นการค้นคว้าที่ช่วยยืนยันว่า “การประหยัดจากขนาด” เกี่ยวข้องกับ
โครงสร้างบุคลากร (หรือการจ้างงาน) ของ เทศบาล และ อบต. กล่าวคือ หน่วยงาน
ท้องถิ่นยึด “โครงสร้างบุคลากร” เป็นกรอบกำหนดจำนวนข้าราชการ (และตำแหน่ง
sg1… sg5) และ จำนวนลูกจ้าง (st1, st2) ข้อสรุปในประการสำคัญ คือ แม้องค์กร
ท้องถิ่นมีขนาดเล็ก – แต่จำนวนบุคลากร “คงที่” จึงมิได้ใช้ประโยชน์จากการประหยัด
จากขนาด (หมายถึง staffpop1000 สูง และ capxstaff สูงมาก) เมื่อองค์กร
มีขนาดใหญ่ขึ้น “ต้นทุนบุคลากร” แทบไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น staffpop1000 และ
capxstaff มีแนวโน้มลดลง ดังประจักษ์จากตารางหรือรูปภาพหรือค่าสัมประสิทธิ์
ในแบบจำลองเศรษฐมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีขนาดประชากรน้อยกว่า 5,000 คน
(กรณี อบต.) “marginal cost” ของค่าจ้างบุคลากรมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็ว
ซึ่งตีความได้ว่า หากปรับปรุงองค์กรโดยการควบรวม เทศบาล หรือ อบต. เข้าด้วยกัน
(เช่น เดิมสองหน่วยงานมีประชากร 3,000 คน และ 2,000 คนตามลำดับ) สามารถ
ประหยัดรายจ่ายค่าบุคลากร – ซึ่งอาจจะทำได้ด้วยการเลิกจ้าง “ลูกจ้างชั่วคราว”
หรือกระบวนโอนย้ายไปยังเทศบาลอื่น ๆ ที่ขาดแคลนแรงงาน
สถาบันพระปกเกล้า 10