Page 132 - 21211_fulltext
P. 132
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
จากตารางที่ 4.5 พบว่า รายได้ต่อจำนวนประชากร จำนวนประชากร (หน่วย
1 พันคน) และความหนาแน่นของประชากร โดยภาพรวมแล้วมีผลทางบวกต่อจำนวน
พนักงานท้องถิ่น ยกเว้นในกรณีของ เทศบาลนคร และเทศบาลเมืองที่ความหนาแน่น
กลับส่งผลในทางลบต่อจำนวนพนักงานท้องถิ่น ซึ่งอาจเนื่องมาจาก การที่ทั้ง
สองหน่วยงานนั้นมีจำนวนมากเพียงพออยู่แล้ว เมื่อพิจารณาตามภูมิภาค พบว่า
มีจำนวนพนักงานท้องถิ่นมีความแตกต่างในแต่ละภูมิภาค ซึ่งโดยภาครวมแล้วจำนวน
พนักงานท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีจำนวนพนักงานท้องถิ่นในหน่วยงาน
ต่าง ๆ มากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ โดยอาจมีบางกรณีที่มีจำนวนน้อยกว่า เช่น ในปริมณฑล
เทศบาลตำบล และอบต. มีจำนวนพนักงานท้องถิ่นมากกว่า
ภาพที่ 4.12-4.15 เป็นการแสดงถึงการประมาณการรายจ่ายบุคลกรต่อจำนวน
ประชากรในแต่ละประเภทหน่วยงาน โดยพบว่า รายจ่ายบุคลกรต่อจำนวนประชากร
มีแนวโน้มลดลงเมื่อจำนวนประชากรในพื้นที่นั้น ๆ เพิ่มขึ้น
จากตารางที่ 4.6 พบว่า รายได้ อปท. ต่อจำนวนประชากร และความหนาแน่น
ของประชากร ส่งผลต่อรายจ่ายบุคลากรต่อประชากร 1 คน ในทางบวก ขณะที่จำนวน
ประชากร (หน่วย 1 พันคน) ส่งผลต่อรายจ่ายบุคลากรต่อประชากร 1 คน ในทางลบ
โดยเมื่อพิจารณาตามภูมิภาคแล้วพบว่ารายจ่ายบุคลากรต่อประชากร 1 คน
มีความแตกต่างกัน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจะมีรายจ่ายบุคลากร
ต่อประชากร 1 คน ในจำนวนที่สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ
สถาบันพระปกเกล้า