Page 150 - 21211_fulltext
P. 150
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
การเปรียบเทียบระหว่างภูมิภาค พบหลักฐานว่าภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-
และปริมณฑลกรุงเทพ ได้รับการประเมินคะแนน LPA สูงกว่าโดยเปรียบเทียบกับ
ภาคใต้-ภาคตะวันออก-ภาคตะวันตก ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยอื่นๆคงที่ เหตุใดจึงเป็น
เช่นนั้น ผู้วิจัยเสนอความคิดเห็นว่าอาจเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือที่วิถีชีวิตที่ไม่เร่งรีบ ประชาชนมีเวลาเข้าร่วม
กิจกรรมที่เทศบาลและ อบต. ดำเนินการและมีการมองสังคมในแง่ดีมากกว่าเชิงวิจารณ์
หรือติติง อย่างไรก็ตามข้อเสนอดังกล่าวถือเป็นการเสนอความเห็นมากกว่าเป็นบทสรุป
โดยควรมีการสืบค้นต่อและอาจจะใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการศึกษา
ตารางที่ 5.7 เป็นการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรอื่น ๆ ที่มีต่อคะแนน LPA
โดยพบว่า จำนวนประชากรส่งผลในทางบวกกับคะแนน LPA ในทุกรูปแบบ
การปกครองท้องถิ่น ขณะที่ รายรับต่อหัว และพื้นที่ ส่งผลต่อคะแนน LPA ในรูปแบบ
ที่ต่างกันไป โดยราบรับต่อหัว ส่งผลในทางบวกกรณีเทศบาลตำบล และอบต. ขณะที่
ส่งผลทางลบในเทศบาลนครและเทศบาลเมือง สำหรับปัจจัยพื้นที่พบว่า ขนาดพื้นที่
ส่งผลในทางลบกับคะแนน LPA ในกรณี เทศบาลนคร และอบต. แต่กลับส่งผลทางบวก
ในกรณีเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล และเมื่อทดสอบความแตกต่างทางภูมิภาคแล้ว
พบว่า โดยภาพรวมแล้วภาคเหนือมีแนวโน้มที่จะมีคะแนนโดยเฉลี่ยสูงกว่าภาคอื่น ๆ
ในทุกรูปแบบการปกครองท้องถิ่น
ตารางที่ 5.6 สถิติรายได้-ประชากร-พนักงาน-และขนาดพื้นที่ เปรียบเทียบ
ตามประเภท
ประเภท ความถี่ รายได้ต่อหัว ประชากร พนักงาน พนักงานต่อประชากร พื้นที่
บาทต่อคน คน คน คนต่อพันคน ตร.กม.
อบต 5334 6,611 6,686 31 5.2 75.0
เทศบาลนคร 30 11,299 92,934 871 9.8 48.1
เทศบาลเมือง 178 11,342 25,679 232 9.7 26.1
เทศบาลตำบล 2233 8,718 7,312 52 8.5 45.1
รวม/ค่าเฉลี่ย 7,775 7,343 7,633 45 6.3 65.2
ที่มา: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สถาบันพระปกเกล้า 11