Page 153 - 21211_fulltext
P. 153
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
ข้อพิจารณาเชิงนโยบาย ประการแรก ควรจัดให้มีการประเมินคุณภาพบริการ
สาธารณะของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องทุกปี ทุกหน่วยงาน โดยเสนอว่าหากจะเป็นการที่
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคซึ่งอยู่ใกล้ชิด
ประชาชน สามารถทำวิจัยภาคสนามได้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย ประการที่สอง
คะแนน LPA ควรจะเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินท้องถิ่นเพื่อได้รับรางวัลการจัดการที่ดี
ตามหลักธรรมาภิบาลซึ่งคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลปีละ 200 ล้านบาทต่อปี เพื่อบันทึกการจัด
บริการสาธารณะของท้องถิ่นและนวัตกรรมท้องถิ่นพร้อมข้อสังเกตในมิติคุณภาพ
ประการที่สาม การจัดทำดัชนีวัด “มาตรฐานบริการสาธารณะ” (standard of local
public services) เป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน ทำนองเดียวกับการมีมาตรฐานสินค้า
อุตสาหกรรมหรือสินค้าการเกษตรที่ปลอดภัย โดยหน่วยงานของรัฐให้การรับรอง
มาตรฐาน ประการที่สี่ ควรสื่อสารให้ประชาชนรับทราบผลประเมิน LPA โดยอาจจะ
แจกแจงข้อมูลรายจังหวัด (ตามความสนใจของประชาชน เข้าใจได้ง่าย และจำนวน
ไม่มากเกินไป) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ ระบุหน่วยงานท้องถิ่น
โดดเด่นภายในจังหวัด บันทึกจุดเด่นหรือจุดแข็งขององค์กร อันเป็นต้นเหตุให้ได้รับ
การประเมินสูง ประการที่สี่ ปัจจุบันมีการประกวดการทำงานขององค์กรภาครัฐใน
ระดับนานาชาติโดยดำเนินการเป็นประจำทุกปี โดยที่หน่วยงานของรัฐบาลไทยที่ได้รับ
การคัดเลือก (และผ่านการอบรมระยะสั้น) มีประสบการณ์เข้าประกวดและได้รับ
รางวัล กรณีที่น่าชื่นชมคือ เทศบาลเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี ได้รับรางวัลที่สอง
ในการประกวดปี พ.ศ. 2559 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ หน่วยงานส่วนกลาง
ที่เกี่ยวข้องอาจจะจัดโปรแกรมการอบรมเชิงปฎิบัติการ เพื่อแนะนำให้ อปท. เข้าใจ
เกณฑ์และขั้นตอนการประกวด การสร้างเอกสารประชาสัมพันธ์และสิ่งตีพิมพ์เป็นภาษา
สากล (ภาษาอังกฤษ) เพื่อการสื่อสาร แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายตามสมควรแต่น่าจะเป็น
ประสบการณ์ใหม่ที่คุ้มค่าของท้องถิ่นไทยเพราะผลลัพธ์ของการจัดบริการสาธารณะที่ดี
ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนได้อย่างยั่งยืน และเป็นการยกระดับการทำงานของ
ท้องถิ่นนับร้อยนับพันแห่งภายใต้เงื่อนไข “แข่งขันการทำความดี”
120 สถาบันพระปกเกล้า