Page 152 - 21211_fulltext
P. 152
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
5.5
อภิปรายผล
จากผลการศึกษาข้างต้นมีข้อสังเกตที่ขอนำมาอภิปรายคือ การยืนยัน
ข้อสันนิษฐานที่ว่าท้องถิ่นขนาดใหญ่มีโอกาสได้รับการประเมินคะแนน LPA สูงกว่า
เนื่องจาก อปท. ขนาดใหญ่สามารถจัดบริการสาธารณะได้ครบถ้วน มีการจัดทำ
กิจกรรมทำได้บ่อยครั้งและมีประชาชนมาใช้บริการจำนวนมาก ทั้งนี้ยังสามารถยืนยันได้
จากตารางที่ 5.8 ที่แสดงค่าคะแนน LPA ของ อบต. และเทศบาล จำแนกตามจำนวน
ประชากรและจำนวนบุคลากรท้องถิ่นต่อจำนวนประชากรพันคน ซึ่งพบว่า การที่
เทศบาล และ อบต. ที่มีจำนวนประชากรสูงขึ้นและมีจำนวนบุคลากรท้องถิ่นต่อจำนวน
ประชากรพันคนในแนวโน้มที่ลดลง จะทำให้เกิดค่าคะแนน LPA ที่สูงขึ้น
ตารางที่ 5.8 คะแนน LPA ขนาดท้องถิ่นและจำนวนพนักงานต่อประชากร
ขนาดท้องถิ่น เทศบาล อบต.
(ประชากร) LPA บุคลากรต่อ LPA บุคลากรต่อ
max=100 ประชากรพันคน max=100 ประชากรพันคน
1000 70.15 44.44 56.91 20.37
2000 74.08 21.97 77.89 10.57
3000 74.60 14.30 77.11 8.47
4000 75.39 11.25 76.87 6.56
5000 76.43 9.27 76.81 5.70
6000 76.57 7.42 77.57 5.06
8000 77.65 7.08 77.78 4.50
10000 78.28 6.27 77.84 4.00
12000 77.44 6.54 77.74 3.86
15000 79.18 6.05 79.05 3.59
20000 77.79 7.21 78.76 3.45
50000 79.39 8.24 80.24 4.25
100000 78.74 8.99 82.21 3.67
260000 82.65 7.46
ค่าเฉลี่ย 77.14 8.64 77.51 5.20
ที่มา: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สถาบันพระปกเกล้า 11