Page 149 - 21211_fulltext
P. 149

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                      ตารางที่ 5.7 แสดงผลประมาณการด้วยเทคนิค robust regression โดยกำหนด
                 ให้ตัวแปรตามหมายถึง คะแนน LPA และทดสอบความสัมพันธ์กับตัวแปรอิสระ ผลการ
                 ศึกษายืนยันว่า ก) ขนาดประชากรมีผลทางบวกต่อคะแนน LPA อย่างมีนัยสำคัญทาง
                 สถิติ ข) รายได้ต่อหัวมีผลในทางบวกต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญ—ในกรณีเทศบาล

                 ตำบล และ อบต. แต่ไม่มีนัยสำคัญในกรณีของเทศบาลเมือง และน่าสังเกตว่า ผลของ
                 จำนวนประชากรกับคะแนน LPA ในกรณีเทศบาลนครนั้นเป็นไปในทางตรงกันข้าม

                 ซึ่งอาจจะสะท้อนว่า เทศบาลนครที่มีจำนวนประชากรมากเกินไปทำให้การดูแลและให้
                 บริการไม่ทั่วถึง ค) ขนาดพื้นที่มีนัยสำคัญในทางลบกับตัวแปรตามในกรณีของ
                 เทศบาลนคร แต่มีผลทางบวกในกรณีเทศบาลตำบล และไม่มีนัยสำคัญกรณี อบต.
                 และ เทศบาลเมือง ง) ตัวแปรดัมมีภูมิภาคโดยเริ่มต้นนั้นสันนิษฐานว่า คะแนน LPA น่า

                 จะมีความแตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม โดยกำหนดให้
                 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นค่าอ้างอิง (ค่าสัมประสิทธิ์ = 0) ผลที่ได้จากค่า
                 สัมประสิทธิ์ของดัมมี สรุปได้ว่า ภาคเหนือมีแนวโน้มจะได้รับคะแนน LPA สูงกว่า

                 ภาคอื่นๆ ตามมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสันนิษฐานอาจจะสะท้อนวัฒนธรรม
                 และค่านิยมของคนเหนือที่วิถีชีวิตเรียบง่ายพอใจสภาพที่เป็นอยู่และความเข้าใจ
                 ฝ่ายบริหาร  สำหรับภาคใต้-ภาคตะวันออก-ภาคตะวันตกนั้นคะแนน LPA  มีแนวโน้ม

                 ต่ำกว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งไม่ชัดเจนว่ามีเหตุผลอย่างไร ในขั้นนี้
                 เพียงสันนิษฐานว่าวิถีชีวิตแบบเมืองมีสัดส่วนสูงกว่า การเข้าร่วมกิจกรรมกับท้องถิ่น
                 น้อยกว่าซึ่งอาจจะเป็นมูลเหตุจูงใจให้การจัดกิจกรรม/บริการสาธารณะท้องถิ่น ทำได้

                 น้อยกว่าและการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมที่จัดต่ำกว่าภาคเหนือและ
                 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                      จากผลการทดสอบ มีคำถามชวนคิดว่า หนึ่ง รายได้ต่อหัว—มีนัยสำคัญต่อ

                 คะแนน LPA หรือไม่ ได้ข้อสรุปสองแนวทาง กรณีแรก อบต. และเทศบาลตำบล
                 ยืนยันว่า รายได้ต่อหัวมีนัยสำคัญต่อคะแนน ทั้งนี้เพราะรายได้ต่อหัวของ อบต. และ
                 เทศบาลตำบล ค่อนข้างจำกัด ดังนั้นการที่ท้องถิ่นได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น ย่อมหมายถึง
                 โอกาสการจัดทำบริการสาธารณะเพิ่มขึ้น และส่งผลทางบวกต่อคะแนน LPA ในกรณี

                 เทศบาลนครและเทศบาลเมือง เป็นหน่วยงานที่มีระดับรายได้ต่อหัวสูงอยู่แล้ว
                 การเปลี่ยนแปลงของรายได้จึงมิได้ส่งผลต่อคะแนน LPA อย่างมีนัยสำคัญ สอง






             11  สถาบันพระปกเกล้า
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154