Page 122 - 21211_fulltext
P. 122
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
สถิติที่แสดงในรูปภาพข้างต้นระบุจำนวนบุคลากรท้องถิ่น แต่เนื่องจากบริบท
ชุมชนแตกต่างกัน หมายถึง จำนวนประชากร บ้านเรือน ร้านค้าและโรงงาน ขนาดพื้นที่
ฯลฯ ไม่เท่ากัน เพื่อให้เปรียบเทียบกันได้ จึงสมควรสร้างตัวแปร (หรือค่าพารามีเตอร์)
ที่สามารถเป็นข้อเปรียบเทียบ และการอ้างอิง ตัวแปร staffpop1000 หมายถึง จำนวน
พนักงานท้องถิ่นต่อประชากร เป็นตัวแปรที่สะท้อนการใช้ปัจจัยนำเข้า ซี่งเป็นตัวบ่งชี้
ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร ตัวอย่างเช่น ในเทศบาล หรือ อบต. ขนาดใหญ่
(ประชากรประมาณ 1 หมื่นคน) ว่าจ้างพนักงานจำนวน 45 คน เมื่อคำนวณเป็นตัวแปร
staffpop1000 คือ 4.5 คน เปรียบเทียบกับ เทศบาล หรือ อบต. ขนาดเล็ก
(ประชากรประมาณ 2 พันคน) การว่าจ้างพนักงานจำนวน 38 คน เมื่อคำนวณเป็น
ตัวแปร staffpop1000 คือ 19 คนต่อประชากรพันคน
ตารางที่ 4.3 ตัวแปรจำนวนบุคลากรต่อจำนวนประชากรพันคนในฐานะค่าพารามีเตอร์
สะท้อนความคุ้มค่าการใช้ทรัพยากร
ความถี่ จำนวนบุคลากร จำนวนประชากร staffpop1000
sizepop
หน่วยงาน หน่วย : คน คนต่อพันคน
<=1000 8 25.5 807 32.4
1001-2000 90 30.0 1,680 19.1
2001-3000 541 24.5 2,556 10.2
3001-4000 913 26.4 3,517 7.8
4001-5000 1,145 29.0 4,515 6.6
5001-6000 1,067 30.4 5,483 5.7
6001-8000 1,749 35.6 6,936 5.2
8001-10000 1,009 42.3 8,928 4.8
ที่มา: วิเคราะห์โดยคณะผู้วิจัยจากฐานข้อมูล อปท. ปี พ.ศ. 2559 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
หมายเหตุ: ตัวแปร staffpop1000 จำนวนบุคลากรต่อจำนวนประชากร 1,000 คน
สถาบันพระปกเกล้า