Page 125 - 21211_fulltext
P. 125
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
4.5 แบบจำลองเศรษฐมิติ การเปรียบเทียบ
รายจ่ายบุคลากร
ตัวแปรหนึ่งซึ่งคณะวิจัยนำมาศึกษาค้นคว้าคือ รายจ่ายบุคลากร (Personnel
expenditure) ของ เทศบาล และ อบต. ซึ่งหมายถึงรายจ่ายรวมเกี่ยวกับค่าจ้าง
เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร เพื่อคำนวณรายจ่ายบุคลากรต่อจำนวนประชากร
(per capita staff expenditure) โดยทั่วไปแล้วการบริหารจัดการงบประมาณของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย หนึ่ง งบประมาณที่เทศบาล และ อบต.
ได้รับนั้นความหมายที่แท้จริงคือ ทรัพยากรการเงินการคลังประชาชนในท้องถิ่นนั้น
ซึ่งจะต้องนำไปใช้จ่ายจัดบริการสาธารณะและการทำกิจกรรมทุกประเภท ส่วนหนึ่งคือ
รายจ่ายบุคลากรซึ่งเงินเดือนค่าจ้างแต่ละคนแตกต่างกันตามตำแหน่งความรับผิดชอบ
คุณวุฒิ ประสบการณ์ทำงาน สอง รายจ่ายขององค์กร จำแนกออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนแรก รายจ่ายบุคลากร (staff expenditure) ส่วนที่สอง รายจ่ายการลงทุน
(investment expenditure) ส่วนที่สาม รายจ่ายบริการสาธารณะ (service
expenditure) โดยปกติหน่วยงานต้องกันเงินไว้สำหรับค่าเสื่อมและการลงทุนพัฒนา
องค์กร ซึ่งอาจจะเป็นสัดส่วนร้อยละ 20-30 จึงมีเงินงบประมาณเหลือร้อยละ 70
ถ้าจัดสรรรายจ่ายบุคลากรมาก (สมมติว่าร้อยละ 30 ของรายได้) หมายความว่า
รายจ่ายการจัดบริการสาธารณะเหลือร้อยละ 40 สะท้อนลักษณะ “การได้อย่าง
เสียอย่าง” (trade-offs) ซึ่งเป็นสัจธรรมอย่างหนึ่งในวิชาเศรษฐศาสตร์
เพื่อเข้าใจความสัมพันธ์ เรากำหนดความสัมพันธ์โดยแสดงในรูปสมการ Eq1
และ Eq2
สมการที่ 1 SEXP = f(staff, position, experience)
สมการที่ 1 สะท้อนความสัมพันธ์ตามหลักการบัญชี (accounting relation)
กล่าวคือ รายจ่ายบุคลากรมาจากผลรวม (summation) ของรายจ่ายบุคลากรแต่ละ
ราย คือ SEXP = ∑ w s w = ค่าจ้างและค่าตอบแทนเฉลี่ย s = จำนวนบุคลากร จำ
i i
แนกตามตำแหน่งข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว
สมการที่ 2 SEXP = g(population, hidden population, tourist,
activities)
2 สถาบันพระปกเกล้า