Page 117 - 21211_fulltext
P. 117
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
หมายถึง ตำแหน่งพนักงานในองค์กรภาครัฐนั้น ระบุโครงสร้างอัตรากำลัง เช่น
ปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาล หัวหน้าส่วน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม หากความต้องการ
บริการสาธารณะเพิ่มขึ้นองค์กรนั้น ๆ ก็สามารถว่าจ้างบุคลากรเพิ่มเติม เป็นลูกจ้าง
ประจำหรือลูกจ้างชั่วคราว ตามความเหมาะสมเพื่อรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นนี้
สะท้อน “ปัจจัยนำเข้าแปรผัน”
4.3 การศึกษาเชิงประจักษ์ การจ้างงานในเทศบาล
และ อบต. ภาพรวมทั่วประเทศ
ในส่วนนี้เสนอการวิเคราะห์ “คนทำงานท้องถิ่น” หมายถึง เทศบาล และ อบต.
7,775 แห่งทั่วประเทศ โดยอิงฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
(ปีงบประมาณ 2559) มีผลการวิเคราะห์ดังนี้
ข้อมูลเกี่ยวกับการจ้างบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสังกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ประเภทข้าราชการ มีข้อมูลดังตาราง
ที่ 4.1 ซึ่งแสดงจำนวนบุคลากรประเภทข้าราชการที่สังกัดใน อบต. เทศบาลนคร
เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล ในภาพรวมทั้งประเทศ โดยแต่ละตำแหน่งแทนด้วย
สัญลักษณ์ ดังต่อไปนี้
๏ Sg1 แทน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล / ปลัดเทศบาล
๏ Sg2 แทน รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล / รองปลัดเทศบาล
๏ Sg3 แทน ผู้อำนวยการสำนัก / ผู้อำนวยการกอง
๏ Sg4 แทน ผู้อำนวยการส่วน / หัวหน้าฝ่าย
๏ Sg5 แทน ตำแหน่งอื่น ๆ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศไทย
(เฉพาะเทศบาล และ อบต. ไม่นับรวมสังกัด อบจ. กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา)
มีจำนวนบุคลากรรวม 346,102 คน จำนวนบุคลากรที่เป็นข้าราชการทั้งสิ้น
135,196 คน คิดเป็นร้อยละ 39.06 บุคลากรที่มีสถานะลูกจ้างมีจำนวนรวมทั้งสิ้น
210,816 คน คิดเป็นร้อยละ 60.94 สรุปได้ว่า เทศบาล และ อบต. อาศัยลูกจ้างเป็น
กำลังสำคัญและมีบทบาทด้านการปฏิบัติงาน (operational, service provision)
สถาบันพระปกเกล้า