Page 115 - 21211_fulltext
P. 115
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
เกี่ยวข้องกับการจ้างบุคลากร คือ รายจ่ายค่าจ้างบุคลากรไม่เกินกว่าร้อยละ 40
ของรายได้ อนึ่ง มีคณะกรรมการบุคลากรท้องถิ่น (กถ.) ระดับชาติ ซึ่งทำหน้าที่กำหนด
เกณฑ์กติกา กำกับตรวจสอบงานที่เกี่ยวกับบุคลากรท้องถิ่นในภาพรวม รับเรื่องราว
ร้องเรียนเกี่ยวกับงานบุคลากรท้องถิ่น และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลส่งเสริมกิจการของท้องถิ่น
4.2
การจ้างงานในเทศบาล และ อบต.
พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496 และ พ.ร.บ. อบต. พ.ศ. 2537 กำหนดภารกิจ
ที่ต้องดำเนินการและภารกิจที่อาจกระทำได้ โดยจำแนกอำนาจหน้าที่ตามประเภทของ
ท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และ อบต. โดยคำนึงถึง
บริบทหรือเงื่อนไขสภาพการทำงานที่แตกต่างกัน เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง
เป็นหน่วยงานให้บริการสาธารณะท้องถิ่นในชุมชนเมืองสะท้อนความหนาแน่นของ
ประชากรสูง การเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์เมืองหรือการอุตสาหกรรม เทศบาลตำบล
ส่วนใหญ่ตั้งในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทจำนวนมากวิวัฒนาการจากสุขาภิบาลซึ่งมักมีขนาด
พื้นที่เล็ก (ครอบคลุมตลาดชุมชนในอำเภอหรือตำบล) และ อบต. เป็นการบริหารงาน
ในชุมชนชนบท
โดยหลักทฤษฎี การกำหนดโครงสร้างบุคลากร (Staff: S) ซึ่งหมายถึงจำนวน
บุคลากร และการกระจายของตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เทศบาล และ อบต.
มีภารกิจตามความรับผิดชอบคืองานที่ต้องปฏิบัติ สมมติใช้สัญลักษณ์ (activities: A)
จำแนกออกเป็น ก) ภารกิจขั้นต่ำหรือจำเป็น เป็นภาระงานที่ต้องกระทำ ข) ภารกิจหรือ
กิจกรรมที่พึงกระทำและพิจารณาว่าดีเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม คุ้มค่า การกำหนด
โครงสร้างบุคลากรขั้นต่ำ ระบุตำแหน่งเจ้าหน้าที่หมายถึง ผู้บริหารฝ่ายประจำ (ปลัด
รองปลัด) หัวหน้าส่วนงาน (กองคลัง กองช่าง กองการศึกษา ฯลฯ) ซึ่งมีโครงสร้าง
คล้ายคลึงกัน (ในประเภทหน่วยงานเดียวกัน) ในระดับปฏิบัติการหน่วยงานนั้น ๆ
ทำหน้าที่ตัดสินใจว่าจ้างหรือเทียบโอนพนักงานตามกรอบอัตรากำลัง ผลต่อมาคือ
รายจ่ายบุคลากร (staff expenditure) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการบริหาร เทศบาล
และ อบต.
2 สถาบันพระปกเกล้า