Page 114 - 21211_fulltext
P. 114
ทรัพยากรบุคคล เป็นปัจจัยนำเข้าสำคัญสำหรับ เทศบาล
และ อบต. ดังกล่าวในตอนต้นว่า รายจ่ายบุคลากรส่วนหนึ่งเป็น
“ต้นทุนคงที่” (fixed cost) อีกส่วนหนึ่งเป็น ต้นทุนแปรผัน (variable
cost) โดยที่เทศบาล และ อบต. เป็นองค์กรภาครัฐ จำเป็นต้อง
อิงกฎหมายและระเบียบ เช่น กรอบอัตรากำลัง ฐานรายได้ (ภาษีและ
ค่าธรรมเนียม การได้รับภาษีแบ่งจากรัฐ และเงินอุดหนุน) ระเบียบว่า
ด้วยการใช้จ่ายงบประมาณ (หมวดรายจ่าย) ระเบียบควบคุมค่าจ้าง
เงินเดือนและงบประมาณรายจ่ายค่าบุคลากร (ไม่เกินร้อยละ 40)
ในบทนี้จะเป็นการขยายความว่า บุคลากรท้องถิ่นเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์
กับการประหยัดจากขนาดอย่างไร คณะวิจัยขอขอบคุณกรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่นที่เอื้อเฟื้อให้เข้าถึงข้อมูลข้าราชการ-ลูกจ้าง
พนักงานของท้องถิ่น ซึ่งข้อมูลขนาดใหญ่ (ไม่ใช่การสุ่มตัวอย่าง)
คณะวิจัยนำมาวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพยากร
บุคคล
4.1 การประหยัดจากขนาด
และการจัดสรรบุคลากรท้องถิ่น
ในการผลิตบริการสาธารณะท้องถิ่น เทศบาล และ อบต. อาศัย
ปัจจัยนำเข้าหลายประเภท นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ความรู้และทักษะการปฏิบัติงานและความรู้เฉพาะถิ่น (สภาพเมือง/
ชุมชน ค่านิยมและวัฒนธรรมของประชากรในพื้นที่นั้น ๆ) การคลัง
และงบประมาณ หนึ่งในปัจจัยนำเข้าที่มีความสำคัญยิ่งคือบุคลากร
หมายถึง ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ที่มีความหลากหลาย
ด้านประสบการณ์ คุณวุฒิ เหมาะสมกับภารกิจที่กระทำ ซึ่งจำแนก
ออกเป็นงานบริหาร งานวางแผนและกำหนดนโยบาย งานการคลัง
งานช่าง งานบริการการศึกษา งานบริการสุขภาพ งานบริการสวัสดิการ
ฯลฯ แน่นอนว่ามีความหลากหลายคืองานบริหาร งานวางแผน
งานปฏิบัติการ งานบริการประชาชน ฯลฯ ระเบียบที่มีความสำคัญและ
สถาบันพระปกเกล้า 1