Page 116 - 21211_fulltext
P. 116

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                         และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                           การบริการสาธารณะท้องถิ่น (local public services) หมายถึง การผลิต
                     บริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและสภาพพื้นที่ ความต้อง
                     การบริการฯ สะท้อนในหลายตัวแปร อาทิเช่น จำนวนประชากร จำนวนบ้านเรือน
                     โรงงาน ร้านค้า สถานประกอบการ นักท่องเที่ยว จำนวนประชากรแฝง ใช้สัญลักษณ์

                     ด้วย P (population) เป็นปัจจัยที่เทศบาล และ อบต. ไม่สามารถควบคุมหรือกำหนดได้
                     นอกจากมีตัวแปรอื่นที่สะท้อนความต้องการบริการสาธารณะเช่นเดียวกัน เช่น

                     การมีพื้นที่อนุรักษ์เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม พื้นที่อนุรักษ์ตามธรรมชาติ ฯลฯ
                     ซึ่งท้องถิ่นมีหน้าที่กำกับดูแลหรือส่งเสริมทั้งทางตรงหรือทางอ้อม  นอกจากนี้
                     มี “ภารกิจเสริม” ที่หน่วยงานส่วนกลางหรือจังหวัด ขอให้ เทศบาล และ อบต.
                     ให้ความร่วมมือโดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจเชิงบูรณาการ ท่านที่เดินทางเข้าไปเยี่ยมชม

                     เทศบาลและ อบต. จะสังเกตว่า สำนักงานของเทศบาล และ อบต. มีป้าย “ศูนย์....”
                     จำนวนมาก เช่น ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรม
                     ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์การเรียนรู้ร่วมกับองค์กรชุมชน ร่วมมือกับสถาบัน

                     การศึกษา

                           การประหยัดจากขนาด ซึ่งถือเป็นมโนทัศน์สำคัญในวิชาเศรษฐศาสตร์และ
                     การจัดการ เกี่ยวข้องกับแนวคิดด้านการผลิตและต้นทุน ฟังก์ชันการผลิตนั้นตระหนัก

                     ถึง“ผลตอบแทนจากขนาด” (return to scale) โดยอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง
                     ผลผลิต (output) และ ปัจจัยนำเข้า (factor input) หมายถึง  Q = a K L  โดยที่ Q
                                                                                b c
                     คือ ผลผลิตหรือภารกิจ  K คือ ปัจจัยนำเข้าทุน L คือ ปัจจัยนำเข้าส่วนบุคลากร คำว่า

                     return to scale จำแนกเป็น ผลตอบแทนต่อขนาดคงที่ (b+c = 1)  ผลตอบแทนต่อ
                     ขนาดเพิ่มขึ้น (b+c > 1) ผลตอบแทนต่อขนาดลดลง (b+c < 1)

                           มโนทัศน์เกี่ยวกับต้นทุน (cost concept) มีความสำคัญเช่นเดียวกัน กล่าวคือ
                     การตระหนักว่าการในบริหารองค์กรย่อมจะมีต้นทุนคงที่ (FC คือ fixed cost) ต้นทุน

                     แปรผัน (VC คือ variable cost) ตัวอย่างของต้นทุนคงที่เช่นค่าใช้จ่ายสำนักงาน ค่าเช่า
                     ที่ดิน ค่าเช่าเครื่องมือและอุปกรณ์ (ถึงแม้ว่ามิได้เช่าแต่องค์กรเป็นเจ้าของ อุปกรณ์นั้น ๆ
                     ย่อมมีค่าเสื่อมหรือค่าสึกหรอซึ่งสะท้อนค่าเช่าเป็นรายจ่ายที่จำเป็นขั้นต่ำ) จำนวน

                     บุคลากรในองค์กรนั้นมีคุณสมบัติเป็นทั้ง “ต้นทุนคงที่” และ “ต้นทุนแปรผัน” ขึ้นอยู่
                     กับสถานการณ์และสภาพแวดล้อม ในขั้นต้นการจ้างบุคลากรถือเป็น “ต้นทุนคงที่”





                                                                          สถาบันพระปกเกล้า
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121