Page 23 - kpi21196
P. 23
ส่วนที่ 1
ชุมชน อาจเป็นที่ว่าง หรือข้างป่า คือสรุปง่าย ๆ ว่าขยะคือสิ่งที่จะต้องทิ้งครับ
และเราก็ไม่ได้แยกประเภทขยะที่ซับซ้อนอะไรมากครับ ผมจำได้ว่า
เข้าค่ายลูกเสือ ทั้งลูกเสือนักเรียน และลูกเสือชาวบ้าน และไทยอาสา
ป้องกันชาติ หรือ ทสปช. วิทยากรให้ขุดหลุมสองหลุมเรียกว่าหลุมแห้ง
และหลุมเปียก หลุมแห้งไว้เผาสิ่งของที่แห้ง หลุมเปียกไว้ฝังสิ่งที่เปียก
ซึ่งเผาไม่ได้เมื่อฝังแล้วก็ปรับระดับดินให้เสมอ หลุมแห้งเผาแล้วก็ฝังกลบ
ปรับระดับดินให้เรียบร้อยเหมือนกันกับหลุมเปียก เลิกค่ายไร้ขยะ
เลยครับ บ้านผมเรียกว่าแปนเอิดเติดครับ ฉะอาดเนียน ๆ เบยยย... แล้ว
คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
ก็ยังสอนให้นำไปใช้จัดการขยะในบ้านของตนเองด้วย
ยุคใบตองและยุคกระดาษเรายังชนะอยู่ครับ เทคโนโลยีที่ใช้ก็เข่ง
คอก รถเข็น รถบรรทุกขนาดเล็ก ปลาย ๆ ยุคก็มีสอนให้ทิ้งลงถัง เพื่อหวัง
เอาไปทิ้งบ้านคนอื่น แต่ก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรกันนะครับ ยุคนี้ก็มีพลาสติก
แล้วนะครับแต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ทิ้ง ใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ล้างแล้วล้างอีก
ถุงพลาสติกเป็นของหายาก พลาสติกไม่ถูกทิ้งเลย กระป๋อง ขวดบรรจุภัณฑ์
น้ำปลา เหล้า ก็จะเก็บคืนหมด เริ่มจะมีปัญหาในยุคต่อมานี่แหละครับ
ยุคที่สาม ผมว่าเด่นชัดในสมัยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ
ชนบทและการพัฒนาอุตสาหกรรมควบคู่กัน โดยมีการกระจาย
อุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง
ตะวันออกหรืออีสเทิร์นซีบอร์ด ที่ได้มีการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ทำให้ประเทศไทยสามารถผลิตพลาสติกเพื่อใช้ประโยชน์เป็นบรรจุภัณฑ์
หรือหีบห่อ เครื่องอุปโภค เครื่องมือที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่เคยทำจากวัสดุ
ธรรมชาติได้ถูกแทนที่ด้วยพลาสติก โดยเฉพาะถุงพลาสติกและโฟมที่ถูก
นำมาใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน ยุคที่สามนี้ผมจึงเรียกว่าเป็น
ยุคพลาสติก ครับ พลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์มีอายุในการย่อยสลาย
1 สถาบันพระปกเกล้า