Page 21 - kpi21196
P. 21
ส่วนที่ 1
ทำไมจะต้องเป็นวิธีนี้ล่ะ ทำไมต้องไร้ถัง แล้วไร้ถังจะอยู่ได้อย่างไร
ยั่งยืนไหม นี่เป็นเรื่องที่เราจะได้เสวนาพาเพลินกันต่อไปละครับ ก่อนจะไป
ลงในรายละเอียดของเรื่องถังรองรับขยะ หรือถังขยะ ผมว่าเรามาทำ
ความเข้าใจและรู้จักขยะก่อนนะครับ เพราะที่จริงแล้วเราสู้เรื่องขยะ
จึงจำเป็นต้องรู้เรื่องขยะเสียก่อน ทำนองเดียวกับที่ท่านปรมาจารย์ซุนวู
เคยว่าเอาไว้ว่ารู้เขารู้เรารบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้งละครับ
ขอเหล้า...ขออภัยครับ..ดื่มเหล้าไม่ดีครับ ขอเล่าความย้อนหลัง
คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
ประวัติของขยะไปสักครึ่งศตวรรษ และจะขอแบ่งขยะออกเป็นยุค ๆ ช่วง ๆ
ไม่เป็นหลินปิงและหลินฮุ่ย นะครับ เพราะถ้าไกลไปกว่านั้นเล่าไม่ได้เพราะ
ยังไม่ได้เกิด เอาที่พอจำความได้นะครับ ตอนเป็นเด็กผมจะดีใจมากถ้า
พ่อแม่ปู่ย่าตายายลุงป้าน้าอาพี่ญาติซื้อขนมมาฝาก แบบว่าตระกูลใหญ่ครับ
เลยญาติเยอะ วัสดุที่ห่อของมาส่วนใหญ่เป็นใบตองครับ ไปงานวัดซื้อ
ถั่วลิสงต้มก็ใช้กระทงใส่ใบตองกล้วย ทิ้ง ๆ ไว้ข้างทางหรือริมรั้วบ้าน
ก็หายไป เวลามีงานใบไม้ใบตองกวาดกองรวมกันขุดหลุมฝังบ้าง รอให้แห้ง
แล้วก็เผาบ้าง ตามตลาดก็มีเพียงเข่งรับใบตองแล้วก็ขนไปทิ้งข้างป่า
ก็จบแล้วครับ มีรถเข็นหรือรถบรรทุกเล็ก ๆ บรรทุกไปก็พอ เมื่อเวลา
ผ่านไปก็จะมีการเน่าเปื่อยย่อยสลายไปตามธรรมชาติเป็นปุ๋ยเป็นดินไป
ยุคแรกนี้ ผมเรียกว่าเป็นยุคใบตองครับ
ต่อเนื่องจากยุคใบตอง ยุคที่สองเป็นยุคกระดาษครับ แต่ก็ไม่ได้
หมายความว่าเลิกใช้ใบตองนะครับ แต่ก็มีกระดาษเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิต
ประจำวันมากขึ้น ตอนเรียนหนังสือชั้นประถมโรงเรียนวัด ผมก็ลูกครึ่งครับ
ครึ่งใบตองครึ่งกระดาษ จำได้ว่าเวลาห่อพริกเกลือไปกินกับมะขามอ่อน
ถ้าสมุดเขียนหมดแล้ว นอกจากจะฉีกมาพับทำว่าวแล้วยังห่อพริกเกลือ
ได้อีก แต่ถ้าไม่มีกระดาษก็จะยังคงใช้ใบตอง เรียนหนังสือประถมหนึ่ง
ยังไม่ได้ใช้กระดาษครับ ใช้กระดานชนวน ประถมสองลูกครึ่ง ครึ่งกระดาน
10 สถาบันพระปกเกล้า