Page 18 - kpi21196
P. 18
ส่วนที่ 1
1.1 แนวคิดการบริหารจัดการขยะแบบชุมชนไร้ถังขยะ
“อะไรกันนะ บ้าไปรึเปล่า ไร้ถังขยะ ไม่มีถังขยะ เลอะเทอะ
เขามีแต่ให้เพิ่มถัง แยกสี ไม่มีถังขยะ จะให้เอาไปทิ้งไหน” คำถามและ
ข้อสงสัยเหล่านี้ผมแอบได้ยินในห้องน้ำแทบจะทุกครั้งที่จะมีการนำเสนอ
แนวคิดเรื่องชุมชนไร้ถัง หรือก่อนการฝึกอบรมเพื่อทำความเข้าใจ
ในแนวทางการบริหารจัดการขยะแบบชุมชนไร้ถัง ก็ไม่ได้แปลกใจเลยครับ
ที่มีคำถามแบบนั้น เพราะเรามีการสอนให้ทิ้งขยะลงถัง และมีการแจกจ่าย
ถังขยะกันมากว่า 30 ปี ถังขยะไม่เพียงแต่ตั้งอยู่ริมทาง ข้างตู้โทรศัพท์
ขยับมารวมปากซอย รุกเข้าไปอยู่ในบ้าน ขยายฐานไปสำนักงานและ
ในรถ เราจึงมีความเคยชินที่จะอยู่กับถังขยะและรู้สึกว่ามันเป็นเรื่อง
ธรรมดาที่จะต้องมีถังและต้องทิ้งลงถังเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนไปกำจัด แต่เอาละครับ ขอเวลานิดเดียว
ผมขอถามคืนบ้างนะครับ ถามสักห้าชุดคำถามนะครับ ถามเพื่อพาท่าน คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
ระลึกถึงผลงานการจัดการขยะในภาพรวมของบ้านเรากันซักหน่อยนะครับ
คำถามที่ว่านี้ไม่ยากครับ คำถามชุดแรกก็คือ การบริหารจัดการขยะ
เราต้องการให้ขยะลดหรือเพิ่มครับ ตอบซิ..คิคิ..ต้องการให้ลดใช่ไหมครับ
แต่ที่ผ่านมาสถานการณ์ขยะของประเทศเราขยะลดไหมครับ ไม่ลด มีแต่
เพิ่ม น่านไง ว่าแล้ว จริงเลยครับ จากข้อมูลสถิติปริมาณขยะมูลฝอยตั้งแต่
ปี 2557 ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ แปลว่า
1
เป็นเรื่องใหญ่เรื่องสำคัญเร่งด่วนของชาติ ตอนนั้นประเทศไทยมีขยะเฉลี่ย
วันละ 7.17 หมื่นตัน และเมื่อถึงปี 2561 ประเทศไทยมีขยะถึง 7.6
หมื่นตันต่อวันหรือปีละ 27.8 ล้านตัน ถ้าชั่งเป็นกิโลก็ประมาณ
76 ล้านกิโลกรัมต่อวัน จากประชากรในทะเบียน 65.5 ล้านคน และ
1 www.statbbi.nso.go.th
สถาบันพระปกเกล้า