Page 22 - kpi21196
P. 22
ส่วนที่ 1
ชนวนครึ่งกระดาษ มาประถมสามค่อยกระดาษล้วน ๆ กระดาษก็เปื่อยง่าย
และเผาได้ง่ายกว่าใบตอง เริ่มมีกล่องกระดาษ และมีคนเอาลูกกวาด
มาแลก ลูกกวาดบ้านผมเรียกว่าไข่ขี้เกี้ยมครับ แลกมากินกันทั้งวัน
แลบลิ้นให้เพื่อนดูลิ้นเป็นสามสีเลย การจัดการกับเศษกระดาษและใบตอง
ก็ไม่ยากใช่ไหมครับ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การจัดการขยะของบ้านเราในภาพรวมเมื่อสัก
สี่ซ้าห้าสิบปีย้อนหลังซึ่งเป็นยุคใบตองและยุคกระดาษ จึงมีความเรียบง่าย
ไม่ซับซ้อน ไม่พูดภาษาหรูให้สับสน ในระดับครัวเรือนสามารถจัดการ
ได้เองง่าย ๆ เนื่องจากสังคมส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรม ทำไร่
ทำสวน ขยะส่วนใหญ่มาจากบรรจุภัณฑ์หรือวัสดุที่เป็นธรรมชาติ เช่น
เศษอาหาร ใบตอง หวาย ไม้ ไม้ไผ่ หรือผลิตภัณฑ์ที่มาจากกระดาษ
ในชนบทสามารถจัดการได้ด้วยการเผา ฝัง หรือกองให้ย่อยสลายตาม
ธรรมชาติสบาย ๆ คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
ไม่เพียงแต่ว่าสบาย ๆ ในชนบทนะครับ การจัดการขยะในเมือง
ก็ง่าย เพียงเก็บรวบรวมแล้วนำไปกองในที่ที่จัดไว้เป็นที่ทิ้งขยะตาม
ป่าสาธารณะหรือที่ที่มีไว้สำหรับทิ้งขยะเป็นการเฉพาะ วัสดุอินทรีย์ก็มี
การย่อยสลายตามธรรมชาติ หากแห้งแล้วถ้ามีปริมาณที่จะล้นที่ทิ้งก็เผา
หรือไม่ก็มีการขุดหลุมเพื่อทิ้ง การที่โครงสร้างของขยะเป็นวัสดุธรรมชาติ
ที่ย่อยสลายได้ง่าย การบริหารจัดการขยะจึงไม่มีปัญหาในการดำเนินงาน
เนื่องจากประชากรยังไม่หนาแน่น ทำให้มีปริมาณน้อย และโครงสร้างขยะ
ประกอบด้วยวัสดุอินทรีย์จึงย่อยสลายได้ทัน ไม่เหลือกองหรือกระจาย
ออกไปนอกบริเวณ
ในสองยุคแรกนี้คงจะพอเห็นกันได้ชัดเจนนะครับการบริหารจัดการ
ในเขตชนบทก็ง่าย ๆ แค่ปล่อยทิ้งไว้ หรือไม่ก็ฝัง บางครั้งก็เผา ก็จบ
ส่วนในเมืองก็แค่ทำคอก หรือทิ้งลงเข่งแล้วก็ขนไปทิ้งในที่ที่ไกลไปจาก
สถาบันพระปกเกล้า 11