Page 19 - kpi21196
P. 19
ส่วนที่ 1
คนนอกทะเบียน อิอิ ผมหมายถึงนักท่องเที่ยวบ้าง คนงานต่างชาติบ้าง
อีกซักล้านคน ถ้าคิดคำนวณคร่าว ๆ ว่าเอาซัก 66.5 ล้านคน เฉลี่ยแล้ว
ง่าย ๆ ก็คนละประมาณ 1.14 กิโลกรัมต่อวัน สรุปข้อนี้ก่อนครับว่า
เราไม่ประสบผลสำเร็จครับ เพราะเราต้องการให้ขยะลดแต่มันเพิ่ม
ก็แสดงว่าเราประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวครับ ล้มเหลวเนาะ ถูกต้องครับ
คำถามชุดที่สองครับ การบริหารจัดการขยะเราอยากให้ค่าใช้จ่าย
ในการจัดการขยะลดลงเพื่อจะได้นำงบประมาณไปพัฒนาด้านอื่น ๆ ไหม
คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
คำตอบว่าไงครับ ตรงกันครับ อยากให้ค่าใช้จ่ายลด แต่การดำเนินงาน
ที่ผ่านมาทำให้ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการลดลงไหมครับ คำถามข้อนี้
ตอบได้ง่ายมาก ในเมื่อขยะเพิ่ม ก็จะต้องซื้อถังเพิ่ม ซื้อรถเพิ่ม จ้างคนเพิ่ม
จ่ายค่าน้ำมัน ค่าซ่อมบำรุงรถเพิ่ม จ่ายค่ากำจัดขยะเพิ่ม เป็นเงาตามตัวครับ
ก็แสดงว่าสิ่งที่เราได้กับสิ่งที่เราปรารถนาไม่ตรงกันเลยครับ ข้อนี้เราก็
ไม่ประสบผลสำเร็จครับ
คำถามชุดที่สาม สำหรับท่านที่มีที่ทิ้งขยะนะครับ ปัจจุบันนี้เรานำ
ขยะไปทิ้งหรือนำไปกำจัดที่ไหนครับ ตรงนี้คงจะพอตอบได้นะครับ
ทิ้งร่วมกับศูนย์จัดการขยะ หรือ cluster หรือไม่ก็มีที่ทิ้งขยะเอง ตอบต่อ
อีกสักนิดนึงครับ ที่ทิ้งขยะที่เราใช้อยู่จะใช้ได้อีกกี่ปี อาจจะตอบได้ครับ
3 ปี 5 ปี 15 ปี ทีนี้ลองตอบต่อประเด็นที่สุดยอดนะครับ ถ้าทิ้งตรงนี้
ต่อไปไม่ได้อีก เราจะไปทิ้งไหนครับ มันเป็นอุ๊ ๆ อ๊ะ ๆ ตอบยากใช่ไหมครับ
ถ้าเราตอบไม่ได้ก็แสดงว่าเรากำลังเดินสู่ทางตันในเวลาอีกไม่นาน
นึกภาพขยะตกค้างในวันที่รถขยะเราเสีย ไม่ได้ไปเก็บขยะในชุมชนดูนะครับ
ว่าจะเละเทะขนาดไหน แล้วที่สำคัญตำบลกระสุนตกน่าจะไปอยู่ที่ไหนครับ
คำถามชุดที่สี่ สำหรับท่านที่ยังไม่มีถังขยะให้ชุมชน และชุมชน
ก็เรียกร้องจะให้มีถังขยะนะครับ ถ้าท่านวางถังลงในชุมชน ท่านมีรถ
มีพนักงานเก็บแล้วหรือยังครับ แล้วที่สำคัญคือท่านจะนำไปทิ้งไหน
สถาบันพระปกเกล้า