Page 28 - kpi21196
P. 28

ส่วนที่ 1



















                                   ภาพที่ 5 ภูเขาขยะ


                  เมื่อมีการนำขยะของยุคที่สามคือยุคพลาสติกไปทิ้ง ณ สถานที่
            ทิ้งขยะซึ่งเคยทิ้งวัสดุอินทรีย์ที่มาจากธรรมชาติในยุคที่หนึ่งและสองคือ
            ยุคใบตองและยุคกระดาษ ขยะในยุคที่สามย่อยสลายช้า จึงยุบลงไม่ทันกับ
            ปริมาณขยะที่เพิ่มเข้ามาใหม่ ทำให้สภาพที่ทิ้งขยะเดิมที่เป็นหลุมเต็มล้น

            และเมื่อนานวันเข้าก็สะสมสูงขึ้นจนเป็นภูเขาขยะละครับ และท่านลอง        คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
            นึกดูครับ หากเกิดฝนตกและพายุเข้าก็จะก่อให้เกิดมลพิษจากน้ำชะขยะ
            ที่ทั้งซึมลงไปในดินไปผสมกับน้ำใต้ดิน และไหลออกข้างนอกเข้าสู่ชุมชน
            หรือไหลไปรวมกับน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งน้ำกินน้ำใช้


                  เล่ามาถึงตอนนี้ท่านคงเห็นความแตกต่างแห่งยุคได้ชัดแล้วนะครับ
            ในยุคที่ยังใช้วัสดุที่เป็นธรรมชาติ คือยุคใบตองและยุคกระดาษ ประชาชน

            ในชนบทสามารถทิ้งข้างทางหรือในบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม ส่วน
            ประชาชนในเมืองก็ทิ้งลงภาชนะที่หน่วยงานเตรียมไว้ในแต่ละพื้นที่ ก็ไม่ได้
            มีปัญหาความเดือดร้อนมากนักเพราะไม่นานก็ย่อยสลายใช่ไหมล่ะ แต่ใน
            ยุคที่ใช้วัสดุสังเคราะห์โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลาสติกและโฟม หากยังทิ้งขยะ
            กระจัดกระจายจากทั้งการทิ้งไม่เป็นที่ สัตว์คุ้ยเขี่ย หรือลมพัด มีบางส่วน

            อยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองก็โยนลงคลองทำให้เกิดมลพิษทางน้ำและมีภูมิทัศน์
            ที่ไม่สวยงาม จึงต้องให้ทิ้งลงถังและขนไปทิ้งข้างนอก แต่เมื่อมีมากขึ้น




                                                         สถาบันพระปกเกล้า  1
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33