Page 30 - kpi21196
P. 30
ส่วนที่ 1
ที่ว่าเช่นนั้นก็เพราะว่าอยู่ ๆ จู่ ๆ ก็มีจังหวัดใหญ่ในภาคเหนือ
แห่งหนึ่งประสบกับปัญหาไม่มีที่ทิ้งขยะเมื่อปี 2537 และ 2541 ซึ่งส่งผล
ให้มีขยะตกค้างเน่าหอมเน่ากระเทียม สรุปว่าเน่าเหม็นนะครับ ก่อให้เกิด
ความเดือดร้อนแก่ประชาชน เนื่องจากมีขยะตกค้างอยู่ในครัวเรือนและ
ชุมชน นอกจากนั้นยังส่งผลถึงภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของเมือง
หน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทุ่มเท
กำลังกันสุดความสามารถกว่าจะได้ที่ทิ้งขยะแห่งใหม่ไกลออกไปเป็น
ร้อยกิโลเมตร ไปกลับก็ร่วมสองร้อยกิโลเมตร ท่านที่เคารพ นอกจาก
ความเสียหายที่ขยะตกค้างแล้ว ยังมีความเสียหายอื่นที่จะตามมาก็คือ
ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและกำจัดจะต้องเพิ่มขึ้นมาแหง ๆ ละครับ แล้วที่
สำคัญไปกว่านั้น แล้วถ้าที่ที่เขานำขยะไปทิ้งแห่งใหม่เต็มหรือมีเหตุที่ทำให้
ไม่สามารถนำไปทิ้งได้ แล้วจะนำไปทิ้งที่ไหนได้อีกล่ะครับ จะมีให้ไหมหนอ
ใครหนอจะให้ที่เราเป็นที่ทิ้งขยะอีก
ท่านที่เคารพครับ สิ่งที่ผมกังวลเพิ่มอีกก็คือ พอหันมาดูรอบข้างทุก คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
พื้นที่ได้แก่จังหวัดอื่น ๆ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ก็ทำ
เช่นเดียวกันกับจังหวัดที่ว่านี้แหละ ดังนั้นก็น่าจะเดินไปสู่จุดที่ไม่มีที่ทิ้งขยะ
เช่นเดียวกัน และจะต้องหาที่ทิ้งใหม่ไกลออกไปกว่าเดิม มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
และอนาคตก็มืดมนในการหาที่ทิ้งขยะใหม่ ผมว่าในยุคที่สามนี่เราออก
อาการเป๋แล้วละครับ ฮี่ ๆๆๆๆๆ แต่วิธีการยังสอนให้ทิ้งลงถัง หวังขนไปทิ้ง
บ้านคนอื่นอยู่เช่นเดิมนะครับ ผมเองก็เริ่มตั้งข้อสงสัยว่า เราน่าจะเดินมา
ผิดทางซะแระ นึกถึงปรมาจารย์ผู้ล่วงลับมาเป็นพัน ๆ ปีอีกรอบ ท่านว่า
ในการยุทธ์ เป้าหมายมั่นคง วิธีการไม่แน่นอน กลยุทธ์ย่อมแปรเปลี่ยนไป
ตามสภาวการณ์แวดล้อม
พอพิจารณา ในเรื่องขยะแล้ว เอ๊ะ เป้าเรามั่นคงหรือยัง เออก็ชัดนะ
เก็บให้หมด แต่เอ๊ะ ไม่ใช่นี่เก็บแล้วไม่มีที่ทิ้ง เออ เป้าเราคือหาที่ทิ้งเหรอ
สถาบันพระปกเกล้า 1