Page 369 - kpi20858
P. 369

327





                       ด้านการท างานของเหมนั้นเกิดจากองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย  คือความมีใจรัก  และทุ่มเทในงาน
                       ศิลปะอย่างต่อเนื่อง ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่น แน่วแน่ที่มีต่อการสร้างสรรค์ศิลปะ

                       เหมมีความส าคัญนอกเหนือไปจากการเป็นนักเขียนภาพประกอบ  โดยมีฝีมือด้านการเขียนจิตรกรรม

                       ไทย  จนได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในช่างผู้เขียนภาพเรื่อง  รามเกียรติ์  ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตน

                       ศาสดาราม ตลอดจนรับราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กรมอาชีวศึกษาอีกด้วย

                              ในปี พ.ศ. 2475 เวช กระตุฤกษ์ ได้ก่อตั้งหนังสืออ่านเล่น ชื่อ “เพลินจิตต์” ซึ่งต่อมาเหม เวช

                       กร  รับงานเขียนภาพประกอบให้กับส านักพิมพ์เพลินจิตต์  ซึ่งถือได้ว่าเป็นก้าวแรกของอาชีพนักวาด

                       ภาพประกอบอย่างจริงจัง ผลงานภาพประกอบที่คัดเลือกเพื่อเป็นตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ ปก
                       หนังสือเพลินจิตต์ ฉบับมีนาคม 2476 เป็นหนึ่งในผลงานที่ได้ท าให้กับส านักพิมพ์เพลินจิตต์   จากนั้น

                       ต่อมาจึงสร้างสรรค์ผลงานภาพประกอบ ทั้งภาพลายเส้นและภาพประกอบลงสีอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา



                              4.1.2.3.3.2 รูปแบบ

                              ผลงานภาพประกอบของเหม เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในสิ่งพิมพ์

                       ส าคัญขณะนั้น ซึ่งมีแนวทางการสร้างสรรค์แบบตะวันตก โดยสามารถวิเคราะห์การแสดงออกได้ ดังนี้


                          ภาพประกอบปกหนังสือเพลินจิตต์ ฉบับมีนาคม พ.ศ.2476       รายละเอียดผลงาน



                                                                        ปกหนังสือเพลินจิตต์ ฉบับมีนาคม พ.ศ.
                                                                        2476แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ส่วนบนสุด

                                                                        ปรากฏตัวอักษร เพลินจิตต์ สีด าเหลือง บน
                                                                        พื้นสีน ้าเงิน ส่วนถัดลงมาแสดงภาพชาย
                                                                        หญิงคู่หนึ่งบนเรือพายที่เต็มไปด้วยกองฟาง

                                                                        หญิงยืนพายเรืออยู่ท้ายเรือ ส่วนชายหนุ่มนั่ง
                                                                        เป่าขลุ่ยอยู่ที่บริเวณหัวเรือ โดยมีไม้พายวาง

                                                                        ไว้ที่หน้าขา ด้านหลังแสดงทัศนียภาพท้อง
                                                                        ทุ่งในยามเย็น และส่วนด้านล่างปรากฏ
                                                                        ตัวอักษรความว่า อ่านเรื่องส าคัญ สตรีไส้

                                                                        ศึก รัก-ประเพณี ผีปอบ และบ้านแตก ใน

                                                                        การศึกษาครั้งนี้จะท าการวิเคราะห์ในส่วนที่
                        ที่มาภาพ: กลุ่มรักครูเหม, 100 ปี เหม เวชกร (กรุงเทพฯ: เลเซอร์ 2 คือ ส่ววนที่เป็นภาพเขียนเท่านั้น
                        กราฟฟิค 82, 2545), 10.
   364   365   366   367   368   369   370   371   372   373   374