Page 7 - kpi20767
P. 7
จ
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ปัญหาอุปสรรคของการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติใน
ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ
ทั้ง สามกรมมีปัญหาร่วมกัน คือ บุคลากรไม่เพียงพอ การหมุนเวียนบุคลากรบ่อยท าให้การท างานไม่
ต่อเนื่อง งบประมาณไม่เพียงพอ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร การบูรณาการการท างาน ส าหรับ
แนวทางในการพัฒนาการด าเนินงานตาม ยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบ
การบริหารจัดการขององค์การภาครัฐ พบว่า การพัฒนาบุคลากรภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้
ความสามารถทางเทคโนโลยีเพือเพิ่มสมรรถนะการท างาน การเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับมีส่วน
ร่วมในการแสดงความเห็น การติดตามตรวจสอบผลการด าเนินงานอย่างต่อเนื่อง ระเบียบปฏิบัติที่
เอื้อต่อการท างาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การท างานแบบบูรณาการจะท าให้กรมสามารถ
ด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อเปรียบเทียบผลการวิจัยความท้าทายในประเด็นธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ชาติของกรมการท่องเที่ยว กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็น
กรมมีค่าคะแนนคุณธรรมและความโปร่งใสในการด าเนินงานในปี 2560 ไม่ผ่านเกณฑ์ เปรียบเทียบกับ
กรมบังคับคดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกรมมีค่าคะแนน
คุณธรรมและความโปร่งใสในการด าเนินงานในปี 2560 ผ่านเกณฑ์ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
การด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้
หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ มีปัจจัยร่วมกันคือ ปัจจัยด้านผู้น า ปัจจัยด้านค่านิยม/วัฒนธรรม
และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก ส าหรับระดับการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลัก
ธรรมาภิบาล พบว่า พบว่า ระดับการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาลโดยรวม
องค์ประกอบด้านหลักความรับผิดชอบ และองค์ประกอบด้านหลักนิติธรรม อยู่ในอันดับสองและ
สามเหมือนกัน และองค์ประกอบสุดท้ายเหมือนกันคือ หลักการมีส่วนร่วม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า
ความท้าทายในประเด็นธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการมีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่กรม
ทั้งหกกรมนั้นต้องให้ความส าคัญมากขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการท างานให้บรรลุตามยุทธศาสตร์ชาติ