Page 220 - kpi20767
P. 220
195
4) การเสริมสร้างพัฒนากลไกเครือข่ายสร้างความมั่นคงทางสังคม เพื่อรองรับสังคม
ผู้สูงอายุ (การสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุ
5) การพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคมของผู้สูงอายุ (การพัฒนางานอาสาสมัคร
ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) ธนาคารเวลาส าหรับการดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทย การขับเคลื่อน
มาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ และการขับเคลื่อนระบบการดูแลและคุ้มครองทางสังคมของผู้สูงอายุใน
ระดับพื้นที่)
6) การปรับปรุงที่อยู่อาศัยและสถานที่สาธารณะที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และคนทุกวัย
(ซ่อมบ้านผู้สูงอายุ)
7) การส่งเสริมชุมชนที่เป็นมิตรกับสังคมผู้สูงอายุและคนทุกวัย
8) การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าถึงหลักประกันทางสังคม
โดยกรมกิจการผู้สูงอายุมีการประเมินผลผลิตและบริการตามแผนปฏิบัติราชการประจ าปี
แผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัย และแผนบูรณาการสร้างความเสมอภาคเพื่อรองรับ
สังคมผู้สูงอายุจากผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ใน 4 มิติ ตามตัวแบบซิปโมเดล (CIPP Model) ได้แก่
1) บริบท หรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation: C) 2) ปัจจัยน าเข้า (Input Evaluation: 1)
3) กระบวนการ (Process Evaluation: P) และ 4) ผลผลิต (Product Evaluation: P) ซึ่งจากผล
การประเมิน สรุปได้ ดังนี้
1) บริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation: C) พบว่า แผนปฏิบัติราชการ
และแผนการใช้จ่ายงบประมาณของกรมฯ มุ่งเน้นทุกเป้าหมาย แต่มีโครงการและกิจกรรม ในแต่ละ
แผนงานฯ จ านวนมาก กระจัดกระจาย ตัวชี้วัดไม่ชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่ก าหนดเป็นพื้นที่ เป้าหมายการ
ด าเนินงาน แต่ยังขาดฐานข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่ที่จะน ามาใช้ในการวางแผนงาน นอกจากนี้ ยังพบว่า
มีผู้สูงอายุติดสังคมจ านวนมาก ซึ่งการด าเนินโครงการตามแผนปฏิบัติราชการ และแผนการใช้จ่าย
งบประมาณและแผนบูรณาการฯ ถือว่าสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เนื่องจาก ท าให้ผู้สูงอายุที่อยู่ใน
ภาวะยากล าบากได้รับการดูแลช่วยเหลือ โดยเฉพาะโครงการการปรับ สภาพแวดล้อมและสิ่งอ านวย
ความสะดวกส าหรับผู้สูงอายุให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย (ในกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงและกลุ่ม
ผู้สูงอายุติดบ้าน) นอกจากนั้น ยังมีการด าเนินงานการสนับสนุน การจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี
ส าหรับผู้สูงอายุติดสังคม มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ อาทิ การท าให้ผู้สูงอายุใน
ชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อท ากิจกรรมใน ศพอส. การเสริมสร้าง ความตระหนักและการเตรียมความพร้อม
การส่งเสริมการเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชนผ่านโรงเรียน ผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรม
ดังกล่าวสอดคล้องกับประเภทผู้สูงอายุและบริบทของ พื้นที่
2) ปัจจัยน าเข้า (Input Evaluation: I) พบว่า บุคลากรมีจ านวนจ ากัด ซึ่งไม่ สอดคล้อง
กับปริมาณงาน และต้องขอความร่วมมือเครือข่ายจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากองค์กรปกครองส่วน