Page 280 - kpi20542
P. 280
ความโดดเด่นในการทำโครงการของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มีอยู่หลากหลายโครงการ
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
หนึ่งในโครงการที่มีความน่าสนใจ คือ เครือข่ายตำบลเข้มแข็ง ไร้ความรุนแรง ดำเนินการโดย
แนวคิดที่ว่าสภาพสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อสัมพันธภาพ
และความมั่นคงของสถาบันหลัก อันเป็นพื้นฐานที่สุดของทุกคนคือ สถาบันครอบครัว และนำไปสู่
ปัญหาสังคมด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาครอบครัวในปัจจุบันมีความซับซ้อน หลากหลาย
มากขึ้นจากอดีต ทั้งปัญหาความสัมพันธ์ ความไม่เข้าใจกัน และปัญหาการใช้ชีวิตครอบครัว
ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มีประชากร
ในพื้นที่ 34,437 คน 14,809 ครอบครัว (ณ ปี 2559) เคยมีปัญหาครอบครัวที่เสี่ยงต่อ
ความรุนแรง 152 ครอบครัว คิดเป็น 1.02 เปอร์เซ็นต์ เทศบาลจึงตระหนักถึงปัญหาครอบครัว
ดังกล่าว หากปล่อยเอาไว้ ย่อมส่งผลเสียบานปลายในอนาคต “เครือข่ายตำบลเข้มแข็ง ไร้ความ
รุนแรง” จึงเกิดขึ้น
จากความร่วมมือของเครือข่ายต่างๆ ได้มีการจัดตั้ง ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ซึ่งเป็น
องค์กรภาคประชาชนจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็น ศูนย์กลางและกลไกในการเฝ้าระวัง ป้องกันแก้ไขปัญหา
ให้คำแนะนำ ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ครอบครัวในชุมชน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เครือข่ายการทำงานด้านพัฒนาสังคมของเทศบาล ซึ่งทางนายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์
นายจารุวัฒน์ บุญเพิ่ม มีแนวคิดว่างบประมาณและทรัพยากรของเทศบาลนั้นมีอยู่อย่างจำกัด
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและใช้ทรัพยากรจากแหล่งอื่นมาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนในพื้นที่เป็นสิ่งที่พึงกระทำ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ได้คุณภาพ
กรณีศึกษา: ด้านชุมชนเข้มแข็ง พ.ศ. 2547 โดยเริ่มจาก สำนักงานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์
และเป็นไปโดยทั่วถึง
ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ในพื้นที่ของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ได้ก่อตั้งขึ้นในปี
(พมจ). ได้ทำหนังสือสอบถามความพร้อม และความต้องการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมายัง
เทศบาล ด้วยความที่เทศบาลมีชุมชนทั้งหมด 36 ชุมชน จึงได้แจ้งขอศูนย์พัฒนาครอบครัว
ในชุมชนไปทั้งหมด 36 ศูนย์ ต่อมาเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จังหวัดได้ลงพื้นที่ประเมินชุมชนและพูดคุยกับผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อพิจารณาความพร้อมในการ
จัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ของแต่ละชุมชน ผลออกมาคือเทศบาลได้รับพิจารณา
การจัดตั้ง ศพค. ทั้งสิ้น 18 ศูนย์ใน 18 ชุมชน ซึ่งนับว่าเป็นเทศบาลที่มีจำนวน ศพค. ในพื้นที่มาก
ที่สุดในประเทศไทย เมื่อเทศบาลได้รับการจัดตั้ง ศพค. มาทั้งสิ้น 18 ศูนย์แล้ว จึงมีความจำเป็น
ที่จะต้องมีการคัดเลือกคณะทำงานของศูนย์ผ่านเวทีประชาคมในชุมชน โดยคัดเลือกคณะทำงาน
2 สถาบันพระปกเกล้า