Page 283 - kpi20542
P. 283

1.  การสำรวจข้อมูล

                              สำรวจข้อมูลสถานการณ์ครอบครัวในมิติต่างๆ เช่น ข้อมูลครอบครัวหย่าร้าง ครอบครัว
                      เลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวที่มีเด็กอายุ 0 – 5 ปี ข้อมูลสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว
                      สถานการณ์ความเข้มแข็งของครอบครัว ข้อมูลครอบครัวที่มีหนี้สินนอกระบบ เป็นต้น ในส่วนของ

                      การเก็บข้อมูลนั้น ทางคณะทำงานได้รับการฝึกจากทั้งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
                      มนุษย์จังหวัด และเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ โดยทาง พมจ. จะอบรมให้รู้จักกับแบบสำรวจว่า

                      ในแต่ละข้อนั้นมีความหมายว่าอะไร จุดประสงค์ต้องการข้อมูลอะไร เพราะภาษาที่ใช้ในแบบ
                      สำรวจนั้นมีความเป็นวิชาการอยู่พอสมควรอาจทำให้เกิดความไม่เข้าใจทั้งผู้สำรวจและผู้ให้ข้อมูล     “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
                      ทางเทศบาลได้จัดอบรมเทคนิคการเก็บข้อมูล การพูดกับคนในชุมชน เพื่อให้เป็นการพัฒนา

                      ความสามารถในการสื่อสารให้กับคณะทำงาน อย่างไรก็ดีในการลงพื้นที่จริง จะมีบางครอบครัว
                      ที่ไม่ยินยอมที่จะตอบแบบสำรวจ ซึ่งทางคณะทำงานต้องหาบุคคลที่ทางครอบครัวนั้นไว้ไปร่วมเก็บ

                      ข้อมูลด้วย เมื่อได้ข้อมูลครอบครัวในชุมชนแล้ว ทางศูนย์จะเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลเพื่อส่งให้กับ
                      พมจ. และเทศบาลใช้ประโยชน์เองต่อไป

                            2. การวิเคราะห์ข้อมูล

                              เป็นการนำข้อมูลที่สำรวจมาพูดคุย ปรึกษาหารือกันในคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
                      ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มต่างๆ ในชุมชน เพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วลำดับความสำคัญของ

                      ปัญหาและความเร่งด่วนในชุมชน เลือกปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยเร็วร่วมกันและเขียนขึ้นมาเป็น
                      โครงการเพื่อเสนอของบประมาณต่อไป

                            3. จัดทำแผนครอบครัว

                              นำข้อมูลที่ผ่านการประชุมปรึกษากัน และวิเคราะห์แล้ว มาจัดทำแผนงาน/กิจกรรม

                      โครงการ

                              ด้านครอบครัว โดยอาจแบ่งประเภทของแผนออกเป็น 4 รูปแบบคือ                         กรณีศึกษา: ด้านชุมชนเข้มแข็ง
                                  ๏ แผนเฝ้าระวัง /ป้องกัน เช่น การสร้างเครือข่ายยุติความรุนแรงในครอบครัว

                                  ๏ แผนเสริมสร้าง เช่น กิจกรรมสร้างความตระหนักเรื่องความรุนแรงในครอบครัว
                                  ๏ แผนแก้ไข เช่น กิจกรรมปรับพฤติกรรมผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อความรุนแรง

                                    ในครอบครัว
                                  ๏ แผนช่วยเหลือ เช่น ประสานส่งต่อผู้ประสบปัญหาครอบครัว /ปัญหาทางสังคม

                              สถานการณ์ปัญหาหนึ่ง ๆ อาจมีมากกว่า 1 แผนงาน/โครงการ เพราะการแก้ไขปัญหา

                      ใดๆ อย่างยั่งยืน ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และแก้ไขปัญหาในทุกมิติ ซึ่งในแต่ละปีทางกรมกิจการสตรี





                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   2
   278   279   280   281   282   283   284   285   286   287   288