Page 282 - kpi20542
P. 282
กระบวนการดำเนินงาน
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
การก่อตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนทั้งสิ้น 18 ศูนย์ในพื้นที่ของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
และดำเนินการโดยภาคประชาชน มีกองสวัสดิการสังคมของเทศบาลเป็นพี่เลี้ยงดูแลให้คำปรึกษา
โดยภารกิจของทางศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนที่กรมกิจกรรมสตรีและสถาบันครอบครัว
กำหนดไว้ มีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อ คือ
1. สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว และศึกษาปัญหา โดยการกำหนดปัญหา และ
ทำการศึกษาถึงสภาพที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ เพื่อดำเนินการหาแนวทาง
การแก้ไขได้อย่างถูกต้อง ประกอบกับวิเคราะห์ถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา
ที่เกิดขึ้นเพื่อการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
2. เฝ้าระวังป้องกัน แก้ไขปัญหาและให้คำแนะนำ โดยศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน
ดำเนินการเชิงรุก เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น และเมื่อมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นแล้วนั้น
ก็ทำการแก้ไขปัญหาพร้อมทั้งให้คำแนะนำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวทุกมิติ เพื่อสนับสนุนให้ครอบครัว
ในพื้นที่มีความเข้มแข็งและอบอุ่น ผ่านการจัดกิจกรรมและการประสานงานร่วมกับเครือข่าย
ภายในพื้นที่
อย่างไรก็ดี ในช่วงแรกทาง ศพค. ที่นำโดยภาคประชาชน ยังไม่มีความเข้มแข็งมากเพียงพอ
ยังขาดทั้งความรู้ และประสบการณ์ ทำให้การทำงานและการเขียนโครงการเพื่อเสนอขอ
งบประมาณจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ยังไม่ประสบ
กรณีศึกษา: ด้านชุมชนเข้มแข็ง ความรู้ให้กับคณะทำงาน ศพค. อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2555 ทาง ศพค. แต่ละศูนย์
ความสำเร็จเท่าที่ควร ทางเทศบาลเอง ในฐานะผู้ดูแลให้คำปรึกษาหลักจึงได้จัดฝึกอบรมพัฒนา
มีประสบการในการทำงานมากขึ้น ได้ลองผิด ลองถูก ได้พัฒนาตัวเองผ่านการฝึกอบรมจนกระทั่ง
เริ่มมีการตกผลึก มีการจดทะเบียนองค์กรสาธารณประโยชน์ทำให้สามารถของบประมาณได้จาก
หลากหลายหน่วยงาน เริ่มได้รับการประเมินมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนในระดับ
ดีเด่น และระดับดี ซึ่งเป็นการประเมินโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เป็นรายปี มีเงินสนับสนุนเพื่อให้ศูนย์ที่ได้รับการประเมินในระดับดังกล่าว เพื่อเป็นเงินทุน
ในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนต่อไป การทำงานหลักๆ ของ ศพค. นั้น
อาจสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
2 สถาบันพระปกเกล้า