Page 200 - kpi20542
P. 200
การจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ซึ่งในช่วงแรกทาง
องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัด
พื้นที่ผ่อนผันให้ประชาชนสามารถ
ขายสินค้าได้บนฟุตปาธบริเวณ
หัวโค้งพระนางอิน ครอบคลุมพื้นที่
ประมาณ 800 เมตร โดยองค์การ
บริหารส่วนตำบลจัดสรรเป็นล็อค
จำนวน 100 ล็อค และเก็บค่า
ธรรมเนียมบริการจัดเก็บขยะเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้
พื้นที่ประกอบอาชีพ เป็นการฟื้นฟูเยียวยาหลังเหตุสึนามิ โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้
จัดการประชุมพ่อค้าแม่ค้าเพื่อทำความเข้าใจสถานะว่าปัจจุบันเป็นการผ่อนผันให้ประกอบการได้
ไม่ใช่การกระทำที่ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย แต่ด้วยปัจจุบันเป็นข้อยกเว้น เนื่องจากต้องการให้
ชาวบ้านมีพื้นที่ประกอบอาชีพ หารายได้หลังประสบเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ ซึ่งวันข้างหน้าจะมี
การยกเลิกการผ่อนผันเมื่อใดก็ได้ การทำความเข้าใจดังกล่าวทำให้ในปี พ.ศ. 2554 การขอคืน
พื้นที่ทางเท้า ยกเลิกจุดผ่อนผันให้ขายสินค้า จึงกระทำได้โดยไม่ยาก พ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ให้ความ
ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบล เพราะได้มีการเตรียมตัววางแผนสถานที่ค้าขายในจุดอื่นๆ
เรียบร้อยแล้ว ทำให้ปัจจุบันบนฟุตปาธไม่มีร้านขายสินค้าอีกต่อไป มีเทศกิจคอยดูแลสอดส่องพื้นที่
อยู่เสมอการขอคืนพื้นที่ดังกล่าวรวมไปถึงการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ล้ำเข้ามาบนฟุตปาธซึ่งทาง
กรณีศึกษา: ด้านการท่องเที่ยว ให้ประชาชนเดินสัญจร เป็นฟุตปาธที่มีความกว้างถึง 7 เมตร อีกทั้งบนฟุตปาธเดิมปลูกต้น
องค์การบริหารส่วนตำบลต้องทำความเข้าใจกับประชาชนและผู้ประกอบการ รวมถึงดำเนินการ
ด้วยความจริงจังแม้จะใช้เวลานานหลายปี แต่ท้ายที่สุดบริเวณหน้าหาดอ่าวนางก็มีทางเท้าที่มีพื้นที่
พญาสัตบรรณไว้แต่เดิมทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้ทำการเปลี่ยนเป็นการปลูกต้นอินทผาลัม
แทน เนื่องจากรากของต้นพญาสัตบรรณมีลักษณะที่ชอนไช ทำลายพื้นของฟุตปาธ ถึงแม้ว่า
จะมีเสียงไม่เห็นด้วยเล็กน้อยจากผู้ประกอบการบางส่วนแต่เมื่อปรับภูมิทัศน์แล้วกลับได้รับ
เสียงตอบรับในแง่บวกจากประชาชน
หลังจากได้มีการจัดระเบียบทางเท้าแล้ว องค์การบริหารส่วนตำบลได้สร้าง Land Mark
หรือจุดที่เป็นสัญลักษณ์ของหาดอ่าวนางที่นักท่องเที่ยวต้องมาถ่ายรูปด้วย เป็นการประชาสัมพันธ์
ส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ประติมากรรมที่สร้างนั้นเป็นประติมากรรมรูปปลาใบและ
ชาวประมงที่กำลังตกปลาใบอยู่ ซึ่งความคิดในการสร้างมาจากการรับฟังความคิดเห็นของ
1 สถาบันพระปกเกล้า