Page 20 - kpi20542
P. 20
ที่โดดเด่นเป็นเลิศ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ (1) ความสามารถในการตัดสินใจเพื่อสร้างสิ่งที่ดี
(Ability to Judge Goodness) (2) ความสามารถในการทำความเข้าใจสาระสำคัญ (Ability to
Grasp the Essence) (3) ความสามารถในการสร้างพื้นที่และความร่วมมือที่เอื้อให้ทุกคน
ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Ability to Create Share Context)
(4) ความสามารถในการสื่อสารสาระสำคัญ (Ability to Communicate the Essence)
(5) ความสามารถในการบริหารจัดการอำนาจเพื่อขับเคลื่อนให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้
(Ability to Exercise Political Power) (6) ความสามารถในการสร้างความเป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่มี
ปัญญาเชิงปฏิบัติ (องค์ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง) (Ability to Foster Practical
Wisdom in Others)
ผลการสำรวจ พบว่า ภาวะผู้นำด้านความสามารถในการสร้างพื้นที่และความร่วมมือ
ที่เอื้อให้ทุกคนภายในองค์กรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ มีคะแนนสูงสุด
คิดเป็นร้อยละ 89.00 ขณะที่ด้านความสามารถในการบริหารจัดการอำนาจเพื่อขับเคลื่อนให้ทุก
คนสามารถทำงานร่วมกันได้ มีคะแนนต่ำสุด คิดเป็นร้อยละ 75.00 สำหรับภาวะผู้นำด้านอื่น ๆ
มีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 80.00 ขึ้นไป*
บทนำ
* คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 90 ขึ้นไป หมายถึง ระดับสูงมาก
คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 80-89.90 ขึ้นไป หมายถึง ระดับสูง
คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 70.01-79.90 ขึ้นไป หมายถึง ระดับปานกลาง
คะแนนต่ำร้อยละ 70 ขึ้นไป หมายถึง ระดับต่ำ
1 สถาบันพระปกเกล้า