Page 174 - kpi20542
P. 174

เป็นเครื่องมือกลางที่เอื้ออำนวยให้ภาคีเครือข่ายเกิดบูรณาการงานร่วมกัน มีความคล่องตัวมากขึ้น
            “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
                  เชื่อมโยงข้อมูลกันได้อย่างง่าย ลดปัญหาความล่าช้าของการทำงาน สามารถช่วยเหลือผู้ประสบ

                  เหตุภัยในสถานการณ์ต่างๆ อาทิเช่น การทำงานของศูนย์แพทย์ฉุกเฉินเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต
                  ของประชาชน กล่าวคือ หลังจากที่ศูนย์แพทย์ฉุกเฉินได้รับแจ้งเหตุ ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
                  จะช่วยมองเห็นเส้นทางจราจรเพื่อให้ยานพาหนะฉุกเฉินนำผู้ป่วยไปสู่มือแพทย์ให้เร็วที่สุด

                  บางเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่นจะสามารถหลีกเลี่ยงได้ ทำให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน
                  เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

                        ผลสำเร็จเชิงปริมาณ

                        ปี พ.ศ. 2559 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาได้ดำเนินการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

                  แล้ว 378 จุด ครอบคลุม 12 อำเภอ โดยมีประชาชนที่ขอรับบริการดูภาพจากกล้องวงจรปิด
                  ณ ศูนย์อาคารศรีเกียรติพัฒน์ และทุกคนได้รับข้อมูลจากการร้องขอดูภาพที่ตนต้องการ (จาก
                  คำขอข้อมูล 93 ครั้ง หรือ 100%) สำหรับพื้นที่มีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในพื้นที่ของ

                  เครือข่าย มีประชาชนได้รับบริการร้อยละ 90 (จากคำขอข้อมูล 543 ครั้ง ได้รับข้อมูลครบ 489
                  ครั้ง)


                          สำหรับการดำเนินการในอนาคตองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาวางแผนที่จะดำเนิน
                  การต่อยอดโครงการดังกล่าวให้ครอบคลุมทั้ง 16 อำเภอ รวมทั้งยังคงใช้รูปแบบการทำงานแบบ

                  เครือข่ายเพื่อประสานความร่วมมือไปยังเครือข่ายกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                  อื่นๆ ในพื้นที่ อาสาสมัคร เครือข่ายป้องกันอัคคีภัย เครือข่ายป้องกันและลดอุบัติเหตุ เป็นต้น
                  เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวมีความมั่นใจในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของตน
            กรณีศึกษา: ด้านสาธารณภัย   ในอนาคตต่อไป
                  มากยิ่งขึ้น และเพื่อเป้าหมายที่จะลดจำนวนอุบัติเหตุ อาชญากรรม และปัญหายาเสพติดในพื้นที่



                  ปัจจัยแห่งความสำเร็จ


                        ความสำเร็จของโครงการเกิดขึ้นจากการทำงานเชิงรุกขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
                  และความร่วมมือในการประสานและแบ่งปันข้อมูลจากภาคีเครือข่ายที่ชัดเจน โดยไม่แย่งชิง
                  บทบาทความเป็นใหญ่ในพื้นที่ ในทางตรงกันข้ามความสำเร็จในโครงการมาจากสนับสนุนและ

                  เอื้ออำนวยให้ภาคีเครือข่ายแต่ละองค์กรสามารถใช้ศักยภาพสูงสุดเพื่อมาบริหารงานได้ โดยมี
                  ระบบเทคโนโลยีเชื่อมโยงร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกัน ซึ่งภาคีเครือข่ายก็มี

                  ความสัมพันธ์อันดี ใช้การพูดคุยและการประชุมอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามและควบคุมสถานการณ์
                  ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ภาคีเครือข่ายมุ่งเน้นการบริหารงานในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ การปรับบทบาท






                1     สถาบันพระปกเกล้า
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179