Page 177 - kpi20542
P. 177
กรณีตัวอย่าง ประกอบกับคนเมืองกระบี่มีคุณลักษณะที่สันโดษรักธรรมชาติ และหวงแหน
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในพื้นที่ พื้นที่ของเมืองกระบี่สะท้อนให้เห็นว่าได้มีการออกแบบด้าน
สถาปัตยกรรมและประติมากรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อเชื่อมเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของเมือง
กระบี่ควบคู่ไปกับอาคารบ้านเรือนชุมชนและอาคารเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่สร้างสรรค์ของ
ผู้บริหารคนสำคัญ คือ นายกีรติศักดิ์ ภูเก้าล้วน ที่ต้องการสร้างเมืองแห่งศิลปะด้วยความเชื่อมั่นว่า
ศิลปะคือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพและการพัฒนาจิตใจของคน เน้นการอนุรักษ์มรดกทาง
วัฒนธรรมของชุมชนในอดีตไปพร้อมกับการพัฒนาแบบใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยแนวคิดศิลปะ
สิ่งเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดด้านการพัฒนาเมืองแบบคุณภาพซึ่งเทศบาลเมืองกระบี่ได้กำหนด “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ทิศทางของการพัฒนาเมืองไว้อย่างชัดเจนที่ว่า “กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก ศูนย์กลาง
การให้การบริการ เป็นประตูสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรม
พร้อมก้าวสู่เมืองคุณภาพ (Q-City) ในปี พ.ศ. 2569”
การพัฒนาเมืองให้มีคุณภาพดังกล่าว คือ การผลักดันใช้แผนยุทศาสตร์ 6 ด้านที่สำคัญ
ได้แก่
1. ยุทธศาสตร์เมืองสะอาด (Clean City)
2. ยุทธศาสตร์เมืองสีเขียว (Green City)
3. ยุทธศาสตร์เมืองปลอดภัย (Safety City)
4. ยุทธศาสตร์สุขภาพ (Healthy City)
5. ยุทธศาสตร์เมืองมั่งคั่งตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Wealthy City) และ
6. ยุทธศาสตร์เมืองแห่งการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ (Quality Tourist Destination City)
การยกระดับให้เมืองกระบี่บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้จำเป็นต้องได้รับ
ความร่วมมือและพลังการมีส่วนร่วมจากประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจากอดีตการบริหารและการเมืองใน
พื้นที่มีลักษณะเสถียรภาพทางการเมืองค่อนข้างสูง ประชาชนให้ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นและ กรณีศึกษา: ด้านสาธารณภัย
ศรัทธาแก่นายกเทศมนตรีเมืองกระบี่ที่สามารถบริหารจัดการเมืองกระบี่ให้กลายเป็นเมือง
ที่โดดเด่นแบบมีคุณภาพและมีอัตลักษณ์ทางศิลปะ หัวใจสำคัญของการได้รับความไว้วางใจจาก
ประชาชน คือ การที่เทศบาลเมืองกระบี่กำหนดให้ “คน” เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน
การพัฒนา กล่าวคือ สร้างคนให้มีคุณภาพภายใต้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง ใช้การทำงาน
แบบเครือข่าย ให้ชุมชนและเครือข่ายชุมชนเข้ามาช่วยกันผลักดันความสำเร็จในระดับพื้นที่
สายสัมพันธ์ดังกล่าวไม่ได้สร้างภายในระยะเวลาอันสั้นแต่พัฒนามาได้ด้วยการเมืองที่มีเสถียรภาพ
อย่างยาวนานจนกลายเป็นความเข้าใจและศรัทธาในการทำงานไปด้วยกัน
สถาบันพระปกเกล้า 1 1