Page 179 - kpi20542
P. 179
อันเป็นการตอบโจทย์ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจให้แก่นักเที่ยวต่างถิ่นทั้งจากในและนอกประเทศ
มีการกำหนดให้ชุมชนเข้ามาทำหน้าที่ดูแลนักท่องเที่ยวรวมทั้งประชาชนด้วยกันเอง
กระบวนการดำเนินงาน
ด้วยเหตุที่เทศบาลเมืองกระบี่ไม่สามารถบริหารและดูแลความสงบเรียบร้อยของเมือง
ได้อย่างครอบคลุมทุกชุมชน หากจะอาศัยและขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์ป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัยจังหวัดคงไม่เพียงพอ ผู้บริหารและบุคลากรเทศบาลเมืองกระบี่จึงมีการจัดตั้ง
ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเทศบาลเมืองกระบี่ขึ้น โดยมีนายกเทศบาลเมืองกระบี่
(นายกีรติศักดิ์ ภูเก้าล้วน) เป็นผู้อำนวยการศูนย์ และมีรองนายกเทศมนตรีเมืองกระบี่เป็น “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
รองผู้อำนวยการศูนย์ มีปลัดและรองปลัดเทศบาลเมืองกระบี่เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์
ส่วนหัวหน้าสำนักปลัด หัวหน้าฝ่ายปกครอง หัวหน้างานป้องกันฯ และเจ้าพนักงานป้องกันฯ เป็น
เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ โดยให้ศูนย์ดังกล่าวประสานแนวทางการดำเนินโครงการดังกล่าวไปยัง
คณะกรรมการของชุมชนเพื่อหาอาสาสมัครและสอบถามถึงความสมัครใจในการคัดเลือกตัวแทน
สมาชิกของชุมชนๆ ละ 5 คน สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อเป็นสมาชิกอปพร.โดยสมาชิกกลุ่มนี้
ทำงานโดยมีพื้นฐานความรับผิดชอบต่อชุมชนของตนเองเป็นหลักไม่มีเงินเดือนหรือตำแหน่ง
ระดับใด
เทศบาลเมืองกระบี่และคณะกรรมการชุมชนใช้วิธีการปรึกษาหารือถึงแนวทางการ
บริหารงานและผลลัพธ์ของความสำเร็จ จึงมีความเห็นร่วมกันเบื้องต้นว่าสมาชิกดังกล่าวเป็นคนใน
ชุมชนซึ่งยังไม่เคยทำงานให้บริการสาธารณะมาก่อน ดังนั้น จึงเห็นว่าควรกำหนดให้สมาชิก
อปพร. ที่จะออกปฏิบัติหน้าที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนจะต้องผ่านการฝึกอบรม “อาสาสมัคร
ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน” จากเทศบาลเมืองกระบี่ก่อน เนื่องจากจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ
เบื้องต้นเกี่ยวกับการเป็นอาสาสมัครป้องกันภัย เรียนรู้วิธีการทำงานภายใต้กฎหมายที่สำคัญ
ในการเฝ้าระวังภัยหลายแบบในพื้นที่ โดยเฉพาะภัยที่เกิดขึ้นในเมืองท่องเที่ยวสำคัญ รวมทั้ง
มาตรการที่จำเป็นในการเข้าช่วยเหลือ อาทิเช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับภารกิจอุดมการณ์ของ กรณีศึกษา: ด้านสาธารณภัย
อปพร. ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติ
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2553 รวมทั้งการฝึกอบรมเฉพาะด้าน เช่น ด้านการกู้ชีพ-
กู้ภัย การค้นหาการกู้ภัยกรณีอาคารถล่ม การจราจร การช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนท้องถนน
การชุมนุมกลุ่มมวลชน การก่อวินาศภัยหรือการก่อการร้ายต่างๆ
สำหรับการบริหารกิจการของ อปพร. จะใช้รูปแบบคณะกรรมการประสานงานศูนย์ อปพร.
เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนการทำงาน มาจากการเลือกตั้งของสมาชิก อปพร. โดยการประชุมใหญ่
ของสมาชิก อปพร. กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานจากเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ ดำเนินการ
สถาบันพระปกเกล้า 1